พระบุเงินล้านนา ศิลปะเมืองน่าน


พระบุเงินล้านนา ศิลปะเมืองน่าน ขนาดตักกว้าง 2.0 เซนติเมตร ฐานสูง 1.8 เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์ 4.3 เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน 5.5 เซนติเมตร เป็นพระบุเงินล้านนา ศิลปะเมืองน่าน ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด ลักษณะพระพุทธรูปปางสมาธิ ชายสังฆาฏิยาว พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง พระเกศาขมวดเป็นรูปก้นหอย พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิบนฐานชุกชี มีร่องรอยแตกหักชำรุดตรงบริเวณพระพาหา สำหรับประวัติพระบุเงินองค์นี้ พระภิกษุสงฆ์ในสมัยก่อนได้นำพระบุเงินดังกล่าวมาจากที่ใดไม่ทราบ ต่อมาภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้พบเข้า จึงได้เก็บรักษา และได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


เครื่องถ้วยเคลือบ


เป็นเครื่องถ้วยที่ทำมาจากดินเผาเคลือบ ไม่มีลวดลาย ลักษณะสีเป็นสีขาวไข่ บริเวณก้นถ้วยมีเส้นขดเป็นวงไม่เรียบ


เครื่องถ้วยตราไก่โบราณ


เป็นเครื่องถ้วยดินเผาเคลือบสีขาว สภาพเก่ามากมีร่องรอยแตกร้าวบริเวณรอบๆถ้วย


เครื่องถ้วยลายครามศิลปะจีนโบราณ


เป็นเครื่องถ้วยศิลปะจีน ใช้หมึกสีน้ำเงินในการวาด มีเส้นสีน้ำเงิน 2 เส้นอยู่ตรงกลางถ้วย และอีก 1 เส้นอยู่ตรงปากถ้วย และมีลวดลายดอกไม้รอบๆถ้วย


น้ำต้น


ทำมาจากดินเผาแต่เคลือบไม่หมด สีแดงน้ำตาล มีร่องรอยชำรุดตรงบริเวณปาก


น้ำต้นสีดำ


เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีดำ เป็นศิลปะล้านนาผสมแบบหริภุญไชย


น้ำต้น


เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ สีน้ำตาล มีรอยเชือกทาบอยู่ 3 จุด คือ บริเวณคอน้ำต้น 2 จุด และตรงก้นน้ำต้นอีก 1 จุด ตกแต่งบริเวณลำตัวของน้ำต้นด้วยรอยขีดแบบเฉียงอีก 4 รอย รอบลำตัว มีร่องรอยชำรุดตรงบริเวณปากน้ำต้นเล็กน้อย


เครื่องถ้วยตราไก่สมัยโบราณ


เป็นเครื่องถ้วยทำมาจากดินเผาเคลือบ วาดลายรูปไก่สีดำ-แดง รูปดอกไม้สีชมพู และรูปใบไม้สีเขียว


เครื่องถ้วยลายครามจีนโบราณ


เครื่องถ้วยดินเผาเคลือบสีขาว ใช้หมึกสีน้ำเงินในการวาด ปากถ้วยมีรอยหยักอยู่รอบ ๆ


เครื่องถ้วยตราไก่สมัยโบราณ


เป็นเครื่องถ้วยที่ทำมาจากดินเผาสีขาว มีการวาดลวดลายตราไก่แบบสมัยโบราณ


เครื่องถ้วยลายครามศิลปะจีนโบราณ


เป็นถ้วยลายครามแบบศิลปะจีน โดยมีลวดลายที่ต่างไปจากเครื่องถ้วยจีนที่มีลวดลายดอกโบตั๋น แต่มีลายก้นหอยปนอยู่


พระหินอ่อนศิลปะพุกามพม่า


เป็นพระพุทธรูปทำจากหินอ่อน ปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิราบ ชายสังฆาฏิยาว พระรัศมีมีรูปดอกบัวตูม ติ่งพระกัณฑ์ยาวถึงพระอังสา พระเนตรหรี่ลงต่ำ ลักษณะฐานเป็นฐานเขียง ส่วนด้านล่างพื้นของฐานเป็นรูโหว่ มีรอยชำรุดตรงปลายพระรัศมี


พระหินอ่อนศิลปะพุกามพม่า


เป็นพระพุทธรูปหินอ่อนศิลปะพุกามพม่า นั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ชายสังฆาฏิยาว พระกัณฑ์ยาวถึง พระอังสะ พระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม พระเกศาเรียบ พระพุทธรูปประทับนั่งอยู่บนฐานเขียง ด้านล่างของฐานเป็นรูโหว่


บูยาดิน


บูยาดินเผา หรือกล้องยาสูบ ขนาดสูง 3.1 เซนติเมตร ยาว 3.0 เซนติเมตร ฐานกว้าง 1.6 เซนติเมตร ปากกว้าง 1.6 เซนติเมตร ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นท่อยาวมีหลุมเล็กๆ สำหรับใส่ยาสูบ ตรงกล้องยาแตกหัก ประดับด้วยลวดลายกลีบดอกบัว และลายขูดขีดเป็นเส้นรอบๆ ประโยชน์ใช้สอยคือเป็นกล้องยาสูบใช้สำหรับสูบยาเส้น หรือยาสมุนไพร สำหรับบูยาดินเผาชิ้นนี้ เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งไม่ทราบว่าองค์ใด ได้พบบูยาดินเผาชิ้นนี้ในบริเวณของวัดหรืออาจจะเป็นของใช้เดิมของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชาวบ้านนำมาถวายให้ จึงได้เก็บรักษาไว้ ภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


บูยาโบราณรูปหัวเทวดา


ทำจากดินเผาเคลือบสีดำเป็นรูปศีรษะเทวดา ลักษณะติ่งพระกรรณยาว ปากแบะ จมูกแบน มีไรพระศก ด้านบนเป็นช่องสำหรับใส่ยาสูบ ด้านล่างบริเวณหลังคอเทวดามีรูเล็ก ๆ สำหรับต่อด้ามเพื่อสูบ สันนิษฐานว่าคงจะใช้ไม้ไผ่เป็นด้าม


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อยึดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใช้มุงหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอก็ตกแต่งด้วยลวดลายดอกล้านนา มีร่องรอยชำรุดบริเวณด้านข้างและปลายตัดอีกข้างหนึ่ง


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อติดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใช้มุงหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอ ประดับตกแต่งลวดลายด้วยดอกไม้ล้านนา


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อติดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใช้มุงหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอก็ประดับตกแต่งลวดลายด้วยดอกไม้ล้านนา


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อติดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใช้มุงหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอก็ประดับตกแต่งลวดลายด้วยดอกไม้ล้านนา


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่แหล่มปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อติดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใช้มุงหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอก็ประดับตกแต่งลวดลายด้วยดอกไม้ล้านนา มีร่องรอยชำรุดแตกหักเหลือเพียงครึ่งเดียว


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่แหล่มปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อติดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใชมุมหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอก็ประดับตกแต่งลวดลายด้วยดอกไม้ล้านนา มีร่องรอยชำรุดแตกหักเหลือเพียงครึ่งเดียว และตรงขอแตกหักเล็กน้อย


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่แหล่มปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อติดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใช้มุงหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอก็ประดับตกแต่งลวดลายด้วยดอกไม้ล้านนา โดยรวมแล้วแตกหักบางส่วน ทำให้วัตถุชำรุด


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน


เป็นดอกปูนปั้นที่ติดแก้วจืนไว้ตรงกลางดอก แก้วจืนมีสีเขียวกลีบดอกทาสีแดง แต่สีถลอกมากแล้วมีรอยขีดประดับตกแต่งตรงกลีบดอกมีร่องรอยชำรุด ตรงกลีบดอกหักหายไปบางส่วน


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน


ดอกปูนปั้นประดับฐานพระประธาน เป็นประติมากรรมตกแต่งสิ่งก่อสร้างทำจากปูน ทราย และส่วนผสมอื่น ในขณะที่ยังอ่อนตัว ปูนที่ใช้ในสมัยโบราณ เรียกว่า ปูนตำ ปูนหมัก ประกอบด้วย หินปูน เปลือกหอย กระดูก และมีส่วนผสมพิเสาให้เกิดความเหนียว เช่น ยางไม้ ไขมันที่ได้จากพืชและสัตว์ ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณฐานพระประธาน ชั้นที่ 2 (จากจำนวน 5 ชั้น นับจากชั้นล่างสุดขึ้นไป) ภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง มีลักษณะคล้ายกับดอกไม้ ทำจากปูนปั้น มีการติดแก้วจืนสีเขียวไว้ตรงกลาง มีกลีบดอกประดับอยู่รอบวง กลีบดอกตกแต่งด้วยลายขูดขีดและทาสีด้วยสีแดง มีร่องรอยชำรุดตรงปลายกลีบดอกบางส่วน และสีแดงที่ทาตรงกลีบดอกก็มีรอยถลอกมากแล้ว ขนาด สูง 0.5 เซนติเมตร กว้าง 4.0 เซนติเมตร ยาว 5.0 เซนติเมตร ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ก้นหอยพระพุทธรูปโบราณ (เกศาพระเจ้า)


ก้นหอยพระพุทธรูปโบราณ (เกศาพระเจ้า) ขนาดสูง 3.2 เซนติเมตร กว้าง 3.9 เซนติเมตร สภาพสมบูรณ์ ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นปูนปั้นทำเป็นเส้นวางขดซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 3 ชั้นเหมือนก้นหอย หรือลายที่ม้วนเป็นเกลียวเหมือนเปลือกหอยโข่ง เป็นสีน้ำตาลอมดำ ในอดีตเป็นเส้นพระเกศาของพระประธานภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมของพระประธานเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน


ทำจากปูนปั้น ติดตรงฐานพระพุทธรูป ตรงกลางติดกระจก ผิวของปูนปั้นค่อนข้างหยาบ สีน้ำตาลดำ มีร่องรอยชำรุดบริเวณตรงกลางที่ติดกระจก


นกเวียงกาหลง


นกเวียงกาหลง ขนาดสูง 5.8 เซนติเมตร กว้าง 4.0 เซนติเมตร ยาว 5.2 เซนติเมตร เป็นนกเวียงกาหลงไม่ทราบอายุ มีลักษณะเป็นปูนปั้นรูปนกตัวเล็กรูปร่างค่อนข้างอ้วนท้วม ขาสั้น ตกแต่งด้วยรอยขูดขีดบริเวณปีกของนก มีตาและมีจะงอยปาก ผิวเป็นเคลือบสีด้วยสีเทา ยกเว้นบริเวณส่วนขาและปีกหางด้านล่างมีร่องรอยชำรุดบริเวณเท้าและหาง สำหรับประวัติวัตถุชิ้นนี้ พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้พบเข้าในบริเวณของวัด จึงได้เก็บรักษา และได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง