ลูกมะหวด


ลูกมะหวด หรือลูกเคี่ยนในภาษาเหนือ หรือลูกตั้งมักทำด้วยหินหรือไม้เป็นต้น เป็นรูปกลม ๆ ป้อม ๆ คล้ายผลมะหวดเรียงกันเป็นลูกกรงใช้แทนหน้าต่าง ลูกมะหวดชิ้นนี้ ในอดีตเป็นส่วนประกอบของซี่กรงหน้าต่างวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะทำจากไม้ตรงปลายทั้งสองด้านมีแกนหลักเพื่อใช้สำหรับยึดติดกับโครงลงมาเป็นกลุ่มลูกแก้ว 6 ลูก โดยลูกที่ 3 และ 6 จะมีขนาดใหญ่กว่าลูกอื่น ขนาดยาว 82.0 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 4 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ช่อฟ้า


ช่อฟ้า คือ ชื่อตัวไม้เครื่องประกอบกรอบหน้าบัน ในอดีตเป็นส่วนประกอบที่ติดตั้งอยู่ตอนปลายสุดหน้าบันวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะทำจากไม้ถากให้เป็นรูปคล้ายหัวครุฑมีหงอนยาวชูขึ้นคดโค้งเล็กน้อย ตรงปากเป็นจะงอยยื่นออกมา ส่วนท้ายสุดมีปลายแหลม อกเป็นเหลี่ยมแบบอกครุฑ มีการลงรักทาชาดและปิดทอง ขนาด สูง 179.0 ซม. กว้าง 23.0 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 4 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


เหล็กลิ่มดามหลังจองวิหารตรึงช่อฟ้า


เหล็กลิ่มดามหลังจองวิหารตรึงช่อฟ้า ในอดีตเป็นส่วนประกอบสำหรับตรึงหรือดามหลังจองวิหารวัดมงคลทุ่งแป้งให้แน่น ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง เป็นเหล็กแท่งยาว คดงอขึ้นเล็กน้อย ตรงบริเวณที่คดงอมีเหล็กแตกออก ส่วนปลายงอเข้าเป็นรูปตะขอ ปลายด้านหนึ่งมีเหล็กตรึงช่อฟ้าวิหารติดอยู่ ซึ่งมีลักษณะบิดงอขึ้นและมีรูสำหรับยึดกับเหล็กลิ่มดามหลังจองวิหาร ขนาด ยาว 46.4 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน ขนาดสูง 0.4 ซม. ยาว 4.8 ซม. กว้าง 1.0 ซม. เป็นดอกปูนปั้นติดแก้วจืน ประดับฐานพระประธานที่มีอายุประมาณ 500 ปีขึ้นไป มีลักษณะคล้ายกับใบไม้ ทำจากปูนปั้น มีรูปทรงสามเหลี่ยม มีการติดแก้วจืนสีเขียวไว้ตรงกลาง กลีบดอกตกแต่งด้วยลายขูดขีดและทาสีด้วยสีทองที่หลุดลอกออกไปแล้วส่วนมาก และมีร่องรอยแตกหักตรงขอบด้านล่างของดอกปูนปั้น ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณฐานพระประธานชั้นที่ 2 (จากจำนวน 5 ชั้น นับจากชั้นล่างสุดขึ้นไป) ภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันดอกปูนปั้นติดแก้วจืน ประดับฐานพระประธานจัดเก็บไว้ที่ ตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน ขนาดสูง 0.5 ซม. ยาว 7.5 ซม. กว้าง 1.0 ซม. เป็นดอกปูนปั้นติดแก้วจืน ประดับฐานพระประธานที่มีอายุประมาณ 500 ปีขึ้นไป มีลักษณะคล้ายกับดอกไม้ ทำจากปูนปั้น มีรูปทรงสามเหลี่ยม มีการติดแก้วจืนสีเขียวไว้ตรงกลาง มีกลีบดอกประดับอยู่ทั้งสามมุม กลีบดอกตกแต่งด้วยลายขูดขีดและทาสีด้วยสีทองที่หลุดลอกออกไปแล้วส่วนมาก และมีร่องรอยแตกหักตรงปลายกลีบดอกด้านซ้าย ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณฐานพระประธานภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธานจัดเก็บไว้ที่ ตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ดอกปูนปั้นประดับฐานพระประธาน


ดอกปูนปั้นประดับฐานพระประธาน เป็นประติมากรรมตกแต่งสิ่งก่อสร้างทำจากปูน ทราย และส่วนผสมอื่น ในขณะที่ยังอ่อนตัว ปูนที่ใช้ในสมัยโบราณ เรียกว่า ปูนตำ ปูนหมัก ประกอบด้วย หินปูน เปลือกหอย กระดูก และมีส่วนผสมพิเศษให้เกิดความเหนียว เช่น ยางไม้ ไขมันที่ได้จากพืชและสัตว์ ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณฐานพระประธาน ชั้นที่ 2 (จากจำนวน 5 ชั้น นับจากชั้นล่างสุดขึ้นไป) ภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะลวดลายดอกไม้ รูปทรงรีปลายเรียวยาว กระจกจืนที่ประดับด้านหน้าหลุดกะเทาะออกไป ตรงกลางมีร่องรอยปูนแตกร้าวเป็นเส้นยาว ด้านหลังมีร่องรอยการใช้รักติดอยู่ ขนาด กว้าง 4.5 ซม. ยาว 6.5 ซม. หนา 0.7 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


แก้วกระจกโบราณ


แก้วกระจกโบราณ ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณเสาด้านหน้าวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะชิ้นส่วนกระจกแก้ว จำนวน 6 ชิ้น แต่ละชิ้นมีขนาดต่างกันไป โดยจะใช้ปูนในการยึดติดแต่ละชิ้นส่วน โดย 2 ชิ้นกลางแตกต่อกันไว้ มีสีเขียวทึบ ลักษณะ 4 ชิ้น ด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ลักษณะคล้ายกลีบบัวหรือลายกระจัง มีสีเขียวทึบ 2 ชิ้น และสีแดงทึบ 2 ชิ้น ขนาด ชิ้นที่ 1) ก. 3.2 ซม. ย. 10.7 ซม. น. 0.2 ชิ้นที่ 2) ก. 2.9 ซม. ย. 8.9 ซม. น. 0.2 ชิ้นที่ 3) ก. 3.4 ซม. ย. 16.7 ซม. น. 0.2 ชิ้นที่ 4) ก. 3.3 ซม. ย. 16.3 ซม. น. 0.2 ชิ้นที่ 5) ก. 33 ซม. ย. 8.3 ซม. น. 0.2 และชิ้นที่ 6) ก. 3.1 ซม. ย. 10.5 ซม. น. 0.2 ซึ่งกระจกแก้วเป็นกระจกที่มีความหนา มีสีสันสดใสหลายหลากสี มีกรรมวิธีการผลิตคือหุงด้วยทรายแก้วซึ่งเป็นทรายเนื้อละเอียดโดยผสมน้ำยาสีต่างๆ ตามที่ต้องการลงไป ด้านหลังอาบด้วยปรอทเคลือบน้ำยาเคมี แต่ไม่สามารถโค้งงอได้ ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ลูกแก้วติดเพดานวิหาร


ลูกแก้วติดเพดานวิหาร ลักษณะทรงกลมสีฟ้า ด้านในกลวง ด้านบนมีจุกทำด้วยโลหะสำหรับแขวน ลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยมมีห่วงวงกลมด้านบนร้อยด้วยเชือกสำหรับแขวน ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 7.9 ซม. ในอดีตเป็นลูกแก้วที่ใช้ประดับตกแต่งเป็นดาวเพดาน หรือดวงดาวบริเวณเพดานเหนือพระประธานในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ แต่น่าจะเป็นของใหม่ที่เข้ามาภายหลัง คาดว่าอาจจะเป็นช่วงที่ชาวอังกฤษและคนในบังคับ ได้แก่ พม่า เงี้ยว และมอญ เข้ามาดำเนินกิจการการทำสัมปทานป่าไม้ ประมาณปี พ.ศ. 2400 ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ดอกปูนปั้นติดกระจกจืนประดับหน้าบันวิหาร


ดอกปูนปั้นติดกระจกจืนประดับหน้าบันวิหาร ลักษณะส่วนที่อยู่ตรงกลางจะเป็นดอกปูนปั้นลักษณะทรงกลม ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.3 ซม.หนา 0.8 ซม. ทำเป็นลวดลายขูดขีดเป็นเส้นวงกลมด้านใน 1 ชั้น ระหว่างลวดลายขูดขีดเส้นวงกลมชั้นนอกทำเป็นลายขูดขีดเป็นเส้นๆจำนวน 16 เส้นโดยรอบ สีและกระจกจืนที่ติดอยู่ภายในลวดลายวงกลมชั้นในหลุดกะเทาะออกไป ด้านหลังของดอกปูนปั้นปรากฏร่องรอยการทำส่วนกลีบดอกปูนปั้น แต่หลุดกะเทาะไป เหลือเพียงส่วนของกระจกจืนที่ตกแต่งบริเวณตรงกลางของกลีบดอกปูนปั้น จำนวน 4 กลีบ ลักษณะรูปทรงคล้ายใบเสมา กระจกจืนจะมีขนาดใหญ่ 2 ชิ้น ซึ่งมีขนาด กว้าง 3.5 ซม. ยาว 4.3 ซม.และขนาดเล็กกว่า 2 ชิ้น ขนาดกว้าง 3.0 ซม. ยาว 3.7 ซม. ซึ่งจะวางในแนวตรงข้ามกัน สำหรับวัตถุชิ้นนี้ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณหน้าบันวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้งเพื่อความสวยงาม ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


บาตรพระดินเผา


บาตรพระดินเผา ขนาดสูง 11.0 เซนติเมตร กว้าง 18.0 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15.0 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมก้นแบน ทำจากดินเผา บริเวณปากภาชนะแตกหัก เป็นบาตรพระภิกษุสงฆ์ในสมัยก่อน ซึ่งภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นของผู้ใด หรือตั้งแต่สมัยใด ซึ่งบาตรที่มีลักษณะตรงตามหลักพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มี 2 ชนิดเท่านั้นคือ บาตรดินเผาและบาตรเหล็กรมดำ แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ภายหลังจึงหันมาใช้ใช้บาตรที่ทำจากสแตนเลส เนื่องจากสะดวกในการดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย จึงเป็นที่นิยมในหมู่สงฆ์ โดยพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้นำมาเก็บรักษา และภายหลังจึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ตะกรุดดินเผาแขวนคอช้างคอม้าโบราณ


ตะกรุดดินเผาแขวนคอช้างคอม้าโบราณ ขนาดสูง 7.0 เซนติเมตร กว้าง 3.0 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.1 เซนติเมตร เป็นตะกรุดดินเผาแขวนคอช้างคอม้าโบราณ ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นตระกรุดดินเผาทรงสูงรูปทรงโค้ง ด้านบนและด้านล่างมีช่องเป็นรูโหว่เชื่อมต่อหากัน มีไว้สำหรับสอดเชือกคล้องคอช้าง, ม้า ผิวของตระกรุดดินเผาค่อนข้างหยาบ มีสีน้ำตาลเข้ม มีร่องรอยชำรุดบริเวณขอบด้านท้ายของตระกรุด สำหรับประวัติวัตถุชิ้นนี้ พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้พบเข้าในบริเวณของวัด จึงได้เก็บรักษา และได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


พระหินอ่อนศิลปะพุกาม


พระหินอ่อนศิลปะพุกาม ขนาดตักกว้าง 3.5 เซนติเมตร ฐานสูง 4.8 เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์ 14.8 เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน 19.5 เซนติเมตร เป็นพระหินอ่อนศิลปะพุกาม ไม่ทราบอายุแน่ชัด ทำจากหินอ่อนหรือหินปูนชนิดที่ขัดแล้วผิวจะเป็นมัน ลักษณะนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ชายสังฆาฏิยาว พระกัณฑ์ยาวถึง พระอังสะ พระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม พระเกศาเรียบ พระพุทธรูปประทับนั่งอยู่บนฐานเขียง ด้านล่างของฐานเป็นรูโหว่ สำหรับประวัติพระพุทธรูปชิ้นนี้ ชาวบ้านได้นำมาถวายให้แก่วัดตั้งแต่เมื่อไรไม่เป็นที่แน่ชัด ต่อมาภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


พระพุทธรูปไม้แกะสลักศิลปะล้านนา


แกะสลักจากไม้ ปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิราบ ชายพระสังฆาฎิยาวจรดพระนาภี เส้นพระเกศาเรียงเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม พระรัศมีดอกบัวตูม พระเนตรหลบต่ำ พระเนตรด้านขวาถูกกะเทาะหายไป ติ่งพระกรรณข้างขวาชำรุด นั่งบนฐานเขียงสูง ตรงก้นมีรูใช้สำหรับยึดตอนแกะสลัก


บัวหัวเสาไม้สักประดับกระจกจืน


บัวหัวเสาไม้สักประดับกระจกจืน ขนาดยาว 30.5 เซนติเมตร สูง 3.5 เซนติเมตร กว้าง 4.0 เซนติเมตร ทำจากไม้สัก รูปทรงสามเหลี่ยม ปลายแหลมบิดงอขึ้นคล้ายรูปกลีบบัว ส่วนที่ประดับกระจกจืนหลุดหายไป ใช้ประดับงานสถาปัตยกรรม บริเวณหัวเสาวิหารวัด สำหรับประวัติวัตถุชิ้นนี้ ในอดีตเป็นใช้ประดับตกแต่งบริเวณหัวเสาหรือบัวหัวเสาวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ปั้นลมรูปพญานาคล้านนาโบราณ


ปั้นลมพญานาคล้านนาโบราณ ขนาดสูง 65 เซนติเมตร ยาว 400.0 เซนติเมตร ทำจากไม้สัก ลักษณะใบระกาหางหงหรือป้านลมทำจากไม้แกะสลักประดับด้วยแก้วจืน หางหงส์เป็นรูปเศียรพญานาค ใช้สำหรับประดับตกแต่งบริเวณปั้นลมวิหาร ปั้นลม หรือป้านลม คือ ชื่อไม้แผ่นที่พาดบนหัวแป ใช้ปิดริมหลังคาด้านหัวและท้ายเรือนกันลมตีเครื่องมุง สำหรับประวัติปั้นลมพญานาคล้านนาชิ้นนี้ ในอดีตเป็นใช้ประดับตกแต่งบริเวณปั้นลมวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงนอกตู้จัดแสดง วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ตะปูไม้สักโบราณ


ตะปูไม้สักโบราณ ขนาดยาว 5.5 เซนติเมตร สภาพสมบูรณ์ อายุประมาณ 500 ปีขึ้นไป ทำจากไม้สัก ลักษณะปลายแหลม รูปร่างคล้ายเข็ม ประโยชน์ใช้สอยคือใช้ตอกลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นท่อนไม้เพื่อไม่ให้แตกแยกออกจากกัน หรือใช้สำหรับยึด หรือตรึงวัตถุต่าง ๆ ในงานก่อสร้าง สำหรับประวัติของตะปูไม้สักโบราณ ชิ้นนี้คือ ในอดีตเป็นตะปูไม้ที่ใช้ยึดตรึงส่วนโครงสร้างวิหารส่วนที่เป็นไม้ของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


เหล็กตรึงหลังช่อฟ้าวิหาร


เหล็กตรึงหลังช่อฟ้าวิหาร ขนาดกว้าง 2.0 ซม. ยาว 8.0 ซม. สภาพสมบูรณ์ ทำจากโลหะ มีลักษณะเป็นเหล็กที่มีขนาดเล็กรูปทรงคล้ายตะปูแต่มีลักษณะแบน มีรู ส่วนปลายจะแหลม ในอดีตเป็นส่วนประกอบสำหรับยึดช่อฟ้าของวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


เหล็กลิ่มโบราณตรึงสลักปั้นลมวิหาร


เหล็กลิ่มโบราณตรึงสลักปั้นลมวิหาร ขนาดยาว 19 เซนติเมตร สภาพสมบูรณ์ ทำจากโลหะ ลักษณะบริเวณหัวของเหล็กลิ่มมีลักษณะเป็นเหล็กหนารูปสี่เหลี่ยมยาวลงมา ตรงปลายคดงอ และเรียวแหลม ในอดีตเป็นส่วนประกอบสำหรับยึดสลักปั้นลมของวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ตะปูเหล็กลิ่ม (สิงขวานร)


ตะปูเหล็กลิ่ม หรือสิงขวานร เป็นวัตถุสำหรับตรึงสิ่งอื่นให้แน่น โดยใช้ค้อนเป็นต้นตอกลงไป ขนาดยาว 5.5 เซนติเมตร เป็นตะปูเหล็กลิ่มมีอายุประมาณ 500 ปีขึ้นไป ทำจากโลหะ มีลักษณะเป็นรูปร่างปลายแหลมยาว ตรงส่วนบริเวณหัว มีลักษณะกลมแบน ในอดีตเป็นตะปูเหล็กลิ่มที่ใช้ยึดตรึงส่วนโครงสร้างวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


แหวนแก้วโป่งข่ามสมัยโบราณ


แหวนแก้วโป่งข่ามสมัยโบราณ ขนาดหัวแหวน เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เซนติเมตร ตัวแหวน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เซนติเมตร ลักษณะตัวแหวนทำจากทองเหลือง ลักษณะกลมเกือบรี หัวแหวนทำจากแก้วโป่งข่าม (ควอซต์) ประเภทแก้วแร่ หรือแร่เขี้ยวหนุมาน ใช้สวมใส่เพื่อเป็นเครื่องรางนำโชคของคนล้านนาเชื่อว่า ช่วยปกป้องรักษาคุ้มภัย ส่งเสริมให้ครอบครัวร่มเย็นเป็นสุข ส่งเสริมการทำมาค้าขาย ซึ่งแก้วโป่งข่ามเป็นหินแก้วตระกูลแร่ควอทซ์ (Quartz) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแร่เขี้ยวหนุมาน โดยตามมาตรความแข็งของโมส์ (Moh’s scale of hardness) ควอทซ์มีค่าความแข็งอยู่ในอันดับที่ 7 (ความแข็งมี 10 อันดับ เพชร แข็งที่สุด คืออันดับ 10) โดยลักษณะของควอทซ์จะมีความโปร่งใส ไปจนถึงทึบแสง และมีหลายสี ควอทซ์จึงจัดเป็นรัตนชาติตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่ง และหลายพื้นที่ในประเทศไทยพบควอทซ์หลายชนิด แต่ชนิดที่นำมาทำแก้วโป่งข่ามนั้น พบมากที่ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง แก้ว ตามความหมายโดยทั่วไป หมายถึง หินใสแลลอดเข้าไปข้างในได้ โป่ง หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่พองด้วยลม หรือแก๊ส เช่น ดินโป่ง (ดินที่มีเกลือ) เป็นต้น ข่าม เป็นภาษาถิ่น หมายถึง อยู่ยงคงกระพัน แก้วโป่งข่าม จึงมีความหมาย คือ หินใสที่มองเล็ดลอดเข้าไปข้างในและมีความอยู่ยงคงกระพัน โดยเกิดจากการผุดขึ้นมาจากช่องดิน สำหรับประวัติวัตถุชิ้นนี้ เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งไม่ทราบว่าองค์ใด ได้พบแหวนแก้วโป่งข่ามชิ้นนี้ในบริเวณของวัด และเห็นว่าเป็นแก้วโป่งข่ามที่หาได้ยากในปัจจุบัน จึงได้เก็บรักษาไว้ ภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


กังสะดานโบราณ


กังสะดานโบราณ ขนาดกว้าง 24.5 เซนติเมตร สูง 15.0 เซนติเมตร เป็นกังสะดานโบราณ ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยม คล้ายกับระฆังแต่มีรูปร่างแบน ทำจากโลหะ ด้านบนส่วนหัวเจาะรูไว้สำหรับใส่เชือก สำหรับประวัติวัตถุชิ้นนี้ ในอดีตเคยใช้ตีนำหน้าศพของพระภิกษุสงฆ์ที่เคยจำพรรษาอยู่ที่วัดมงคลทุ่งแป้ง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเจ้าอาวาสรุ่นเก่าก็เป็นไปได้ ภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้พบเข้า จึงได้เก็บรักษา และได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


กังสะดานโบราณ (ปาล) 2


มีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยม คล้ายกับระฆังแต่มีรูปร่างแบน ทำจากโลหะ ด้านบนส่วนหัวเจาะรูไว้สำหรับใส่เชือก


ตุ้มหูนากโบราณ


ทำจากนาก เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดง ทองคำ และเงิน รูปทรงกลมแบนมีส่วนสำหรับสอดเข้ารูหูติดอยู่ มี 2 ข้าง


เต้าปูนกินหมาก


เต้าปูนกินหมาก เป็นภาชะใส่ปูนกินหมาก ซึ่งการกินหมาก ถือเป็นวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทยมาเป็นเวลานาน จึงมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ประเพณี และเป็นสัญลักษณ์แทนคุณค่าต่างๆ ในวัฒนธรรมไทย ในแง่ต่างๆ เต้าปูนเป็นเครื่องเชี่ยนที่มาพร้อมๆ กับการกินหมากที่คนไทยรับแบบอย่างมาจากอินเดีย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเพราะได้พบเต้าปูนทองเหลืองที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกับเต้าปูนในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเต้าปูนเป็นหัตถกรรมที่คนไทยทำขึ้นมาใช้เป็นเวลานานหลายร้อยปีแล้ว เต้าปูนกินหมากชิ้นนี้ มีขนาด ฐานกว้าง 3.5 เซนติเมตร สูงพร้อมฝา 12.5 เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน 7 เซนติเมตร ทำจากทองเหลือง มีสีดำติดอยู่บางส่วน ลักษณะจะมีสองส่วนคือ ตัวเต้าปูน สำหรับใส่ปูน และฝาสำหรับปิด ฝาเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 ชั้น คล้ายบัวถลา ไม่ทราบช่วงเวลาแน่ชัด สำหรับประวัติเต้าปูนกินหมากพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้พบเข้า จึงได้เก็บรักษา และได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


พระบุเงินล้านนา ศิลปะเมืองน่าน


พระบุเงินล้านนา ศิลปะเมืองน่าน ขนาดตักกว้าง 2.0 เซนติเมตร ฐานสูง 1.8 เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์ 4.3 เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน 5.5 เซนติเมตร เป็นพระบุเงินล้านนา ศิลปะเมืองน่าน ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด ลักษณะพระพุทธรูปปางสมาธิ ชายสังฆาฏิยาว พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง พระเกศาขมวดเป็นรูปก้นหอย พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิบนฐานชุกชี มีร่องรอยแตกหักชำรุดตรงบริเวณพระพาหา สำหรับประวัติพระบุเงินองค์นี้ พระภิกษุสงฆ์ในสมัยก่อนได้นำพระบุเงินดังกล่าวมาจากที่ใดไม่ทราบ ต่อมาภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้พบเข้า จึงได้เก็บรักษา และได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


เครื่องถ้วยเคลือบ


เป็นเครื่องถ้วยที่ทำมาจากดินเผาเคลือบ ไม่มีลวดลาย ลักษณะสีเป็นสีขาวไข่ บริเวณก้นถ้วยมีเส้นขดเป็นวงไม่เรียบ


เครื่องถ้วยตราไก่โบราณ


เป็นเครื่องถ้วยดินเผาเคลือบสีขาว สภาพเก่ามากมีร่องรอยแตกร้าวบริเวณรอบๆถ้วย


เครื่องถ้วยลายครามศิลปะจีนโบราณ


เป็นเครื่องถ้วยศิลปะจีน ใช้หมึกสีน้ำเงินในการวาด มีเส้นสีน้ำเงิน 2 เส้นอยู่ตรงกลางถ้วย และอีก 1 เส้นอยู่ตรงปากถ้วย และมีลวดลายดอกไม้รอบๆถ้วย


น้ำต้น


ทำมาจากดินเผาแต่เคลือบไม่หมด สีแดงน้ำตาล มีร่องรอยชำรุดตรงบริเวณปาก


น้ำต้นสีดำ


เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีดำ เป็นศิลปะล้านนาผสมแบบหริภุญไชย


น้ำต้น


เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ สีน้ำตาล มีรอยเชือกทาบอยู่ 3 จุด คือ บริเวณคอน้ำต้น 2 จุด และตรงก้นน้ำต้นอีก 1 จุด ตกแต่งบริเวณลำตัวของน้ำต้นด้วยรอยขีดแบบเฉียงอีก 4 รอย รอบลำตัว มีร่องรอยชำรุดตรงบริเวณปากน้ำต้นเล็กน้อย


เครื่องถ้วยตราไก่สมัยโบราณ


เป็นเครื่องถ้วยทำมาจากดินเผาเคลือบ วาดลายรูปไก่สีดำ-แดง รูปดอกไม้สีชมพู และรูปใบไม้สีเขียว


เครื่องถ้วยลายครามจีนโบราณ


เครื่องถ้วยดินเผาเคลือบสีขาว ใช้หมึกสีน้ำเงินในการวาด ปากถ้วยมีรอยหยักอยู่รอบ ๆ


เครื่องถ้วยตราไก่สมัยโบราณ


เป็นเครื่องถ้วยที่ทำมาจากดินเผาสีขาว มีการวาดลวดลายตราไก่แบบสมัยโบราณ


เครื่องถ้วยลายครามศิลปะจีนโบราณ


เป็นถ้วยลายครามแบบศิลปะจีน โดยมีลวดลายที่ต่างไปจากเครื่องถ้วยจีนที่มีลวดลายดอกโบตั๋น แต่มีลายก้นหอยปนอยู่


พระหินอ่อนศิลปะพุกามพม่า


เป็นพระพุทธรูปทำจากหินอ่อน ปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิราบ ชายสังฆาฏิยาว พระรัศมีมีรูปดอกบัวตูม ติ่งพระกัณฑ์ยาวถึงพระอังสา พระเนตรหรี่ลงต่ำ ลักษณะฐานเป็นฐานเขียง ส่วนด้านล่างพื้นของฐานเป็นรูโหว่ มีรอยชำรุดตรงปลายพระรัศมี


พระหินอ่อนศิลปะพุกามพม่า


เป็นพระพุทธรูปหินอ่อนศิลปะพุกามพม่า นั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ชายสังฆาฏิยาว พระกัณฑ์ยาวถึง พระอังสะ พระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม พระเกศาเรียบ พระพุทธรูปประทับนั่งอยู่บนฐานเขียง ด้านล่างของฐานเป็นรูโหว่


บูยาดิน


บูยาดินเผา หรือกล้องยาสูบ ขนาดสูง 3.1 เซนติเมตร ยาว 3.0 เซนติเมตร ฐานกว้าง 1.6 เซนติเมตร ปากกว้าง 1.6 เซนติเมตร ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นท่อยาวมีหลุมเล็กๆ สำหรับใส่ยาสูบ ตรงกล้องยาแตกหัก ประดับด้วยลวดลายกลีบดอกบัว และลายขูดขีดเป็นเส้นรอบๆ ประโยชน์ใช้สอยคือเป็นกล้องยาสูบใช้สำหรับสูบยาเส้น หรือยาสมุนไพร สำหรับบูยาดินเผาชิ้นนี้ เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งไม่ทราบว่าองค์ใด ได้พบบูยาดินเผาชิ้นนี้ในบริเวณของวัดหรืออาจจะเป็นของใช้เดิมของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชาวบ้านนำมาถวายให้ จึงได้เก็บรักษาไว้ ภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


บูยาโบราณรูปหัวเทวดา


ทำจากดินเผาเคลือบสีดำเป็นรูปศีรษะเทวดา ลักษณะติ่งพระกรรณยาว ปากแบะ จมูกแบน มีไรพระศก ด้านบนเป็นช่องสำหรับใส่ยาสูบ ด้านล่างบริเวณหลังคอเทวดามีรูเล็ก ๆ สำหรับต่อด้ามเพื่อสูบ สันนิษฐานว่าคงจะใช้ไม้ไผ่เป็นด้าม


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อยึดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใช้มุงหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอก็ตกแต่งด้วยลวดลายดอกล้านนา มีร่องรอยชำรุดบริเวณด้านข้างและปลายตัดอีกข้างหนึ่ง


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อติดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใช้มุงหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอ ประดับตกแต่งลวดลายด้วยดอกไม้ล้านนา


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อติดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใช้มุงหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอก็ประดับตกแต่งลวดลายด้วยดอกไม้ล้านนา


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อติดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใช้มุงหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอก็ประดับตกแต่งลวดลายด้วยดอกไม้ล้านนา


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่แหล่มปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อติดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใช้มุงหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอก็ประดับตกแต่งลวดลายด้วยดอกไม้ล้านนา มีร่องรอยชำรุดแตกหักเหลือเพียงครึ่งเดียว


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่แหล่มปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อติดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใชมุมหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอก็ประดับตกแต่งลวดลายด้วยดอกไม้ล้านนา มีร่องรอยชำรุดแตกหักเหลือเพียงครึ่งเดียว และตรงขอแตกหักเล็กน้อย


กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณลายดอกล้านนา


มีลักษณะเป็นแผ่นสี่แหล่มปลายตัดตรง ตรงปลายด้านใดด้านหนึ่งทำเป็นขอเพื่อติดกับกระเบื้องอีกแผ่นในการใช้มุงหลังคา และตรงปลายส่วนด้านหน้าที่ทำเป็นขอก็ประดับตกแต่งลวดลายด้วยดอกไม้ล้านนา โดยรวมแล้วแตกหักบางส่วน ทำให้วัตถุชำรุด


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน


เป็นดอกปูนปั้นที่ติดแก้วจืนไว้ตรงกลางดอก แก้วจืนมีสีเขียวกลีบดอกทาสีแดง แต่สีถลอกมากแล้วมีรอยขีดประดับตกแต่งตรงกลีบดอกมีร่องรอยชำรุด ตรงกลีบดอกหักหายไปบางส่วน


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน


ดอกปูนปั้นประดับฐานพระประธาน เป็นประติมากรรมตกแต่งสิ่งก่อสร้างทำจากปูน ทราย และส่วนผสมอื่น ในขณะที่ยังอ่อนตัว ปูนที่ใช้ในสมัยโบราณ เรียกว่า ปูนตำ ปูนหมัก ประกอบด้วย หินปูน เปลือกหอย กระดูก และมีส่วนผสมพิเสาให้เกิดความเหนียว เช่น ยางไม้ ไขมันที่ได้จากพืชและสัตว์ ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณฐานพระประธาน ชั้นที่ 2 (จากจำนวน 5 ชั้น นับจากชั้นล่างสุดขึ้นไป) ภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง มีลักษณะคล้ายกับดอกไม้ ทำจากปูนปั้น มีการติดแก้วจืนสีเขียวไว้ตรงกลาง มีกลีบดอกประดับอยู่รอบวง กลีบดอกตกแต่งด้วยลายขูดขีดและทาสีด้วยสีแดง มีร่องรอยชำรุดตรงปลายกลีบดอกบางส่วน และสีแดงที่ทาตรงกลีบดอกก็มีรอยถลอกมากแล้ว ขนาด สูง 0.5 เซนติเมตร กว้าง 4.0 เซนติเมตร ยาว 5.0 เซนติเมตร ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง