ขั้นตอนการเขียนลวดลายบนร่ม


การเขียนลวดลายลงบนร่มนั้นในสมัยก่อนไม่ค่อยนิยมมากนักเหมือนในปัจจุบัน ใช้เพียงสีพื้น 2 สี คือสีดำและสีแดงในการลงสีร่มเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาร่มในรูปแบบต่างๆและหลากหลายสีสัน มีการใช้สีเขียนลวดลายลงบนร่ม โดยใช้สีอะคลิลิคน้ำ ที่เป็นสีน้ำสดใส สำหรับวาดร่มกระดาษและร่มผ้าที่ไม่กันฝน ส่วนร่มผ้าน้ำมันแต่เดิม ใช้สีฝุ่นผสมน้ำมัน ในการวาดร่ม ซึ่งสีฝุ่นเป็น Pigment ในการผสมให้เกิดสีต่างๆ แต่ปัจจุบัน สีที่ใช้วาดร่มผ้าเคลือบน้ำมัน จะใช้เป็นสีน้ำมัน ผสมกับน้ำมันเบนซิน เพื่อให้วาดได้ง่าย ลื่น และสามารถจับติดร่มที่เคลือบด้วยน้ำมันได้เป็นอย่างดี และสามารถกันแดด กันฝนได้ ซึ่งลวดลายที่เขียนลงบนร่มมีหลากหลายลวดลาย เช่น ลายดอกไม้ต่างๆ (กล้วยไม้) ลายจากธรรมชาติ (วิวทิวทัศน์, น้ำตก, ทะเล, ป่าไม้) และลายสัตว์ต่างๆ (นก, ช้าง, เสือ ฯ)


ขั้นตอนการกลึงหัว, ตุ้ม, และจิก(ยอด) ร่ม


การกลึงหัว, ตุ้มและจิก(ยอด)ร่ม เริ่มจากการนำไม้กระท้อนที่ถูกตัดมาเป็นแท่งยาวประมาณ 12 นิ้ว มาตัดให้เป็นทรงกลม ใช้สว่านเจาะรูเป็นวงกลมตรงกลางแท่งไม้ แล้วนำไปสอดเข้าเครื่องหมุนมอเตอร์ จากนั้นใช้มีดกลึง กลึงแบ่งท่อนไม้ออกเป็นสามส่วนเท่าๆกัน และตัดแบ่งท่อนไม้ตามรอยที่กลึงไว้ ส่วนหัวร่มใช้เครื่องใบมีดมอเตอร์แฉกส่วนบนเป็นซี่ๆ สำหรับยึดซี่กลอนร่ม ส่วนตุ้มร่มจะกลึงให้มีลักษณะส่วนล่างคล้ายลูกตุ้มไว้สำหรับยึดม้าร่ม (ตัวล็อค) และใช้เครื่องใบมีดมอเตอร์แฉกส่วนบนเป็นซี่สำหรับยึดซี่ค้ำ ส่วนจิกร่ม (ยอดร่ม) เป็นส่วนที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของร่ม โดยส่วนใหญ่จะใช้ไม้มะม่วงที่มีเนื้ออ่อนกว่าไม้กระท้อนมากลึงเป็นจิก (ยอด)ในลักษณะต่างๆ เช่น จิกทรงคล้ายพระธาตุ


ขั้นตอนการทำโครงร่ม


โครงร่มจะประกอบด้วย 2 ส่วน หลัก คือ ซี่ค้ำและซี่กลอน โดยขั้นตอนการทำจะเริ่มจากการนำไม้ไผ่บงมาตัดเป็นท่อนๆ แล้วแต่ขนาดของร่มที่ต้องทำ เสร็จแล้วผ่าไม้เป็นซี่ๆ นำไปเหลาเป็นซี่ค้ำและซี่กลอนของร่ม โดยจะต้องเหลาให้มีความหนาบางเท่ากันทุกซี่ (ซึ่งร่มแต่ละขนาดจะมีจำนวนซี่ไม่เท่ากัน) จากนั้นใช้สว่านมือเจาะรูลงบนซี่ค้ำและซี่กลอนที่เหลาเสร็จแล้วสำหรับใช้ร้อยด้ายประกอบเข้ากับหัวและตุ้มร่มเพื่อขึ้นเป็นโครงร่ม และไว้สำหรับสนด้ายเป็นลวดลายใต้ร่ม เสร็จแล้วนำไปตากแดดจนแห้งสนิท นำไปแช่น้ำยาและตากอีกครั้งจนแห้ง เก็บไว้รอขั้นตอนการหุ้มร่ม


การร้อยด้ายประกอบโครงร่ม


ขั้นตอนการร้อยด้ายประกอบโครงร่ม จะร้อยประกอบโดยใช้ด้ายไนลอน เพราะเป็นด้ายที่มีความเหนี่ยวและทนทาน ไม่ขาดง่าย ร้อยประกอบซี่ค้ำเข้ากับตุ้ม และซี่กลอนเข้ากับหัวร่ม ตามรอยที่ได้เจาะไว้ตอนเหลาซี่ไม้ เสร็จแล้วนำทั้งสองส่วนมาร้อยประกอบเข้ากัน โดยซี่กลอนจะอยู่ด้านบนส่วนซี่ค้ำอยู่ด้านล่าง ขั้นตอนการสนด้ายเป็นลวดลายต่างๆใต้ร่ม จะร้อยโดยใช้ไหมประดิษฐ์หลากสี สนด้ายเข้าตามรูที่เจาะไว้ตามซี่ค้ำและซี่กลอนเป็นลวดลายต่างๆ ตามรูปแบบของร่มแต่ละขนาดแต่ละประเภท


ขั้นตอนการทำกระดาษสาจากเปลือกของต้นสา


ขั้นตอนการทำกระดาษสาจากเปลือกต้นสา เริ่มจากการใช้ไฟรนต้นสาเพื่อจะได้นำเปลือกสาออกมาได้ง่าย เมื่อได้เปลือกสาแล้วจะนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำไปต้มกับโซดาไฟประมาณ 3-4 ชั่วโมงจนเปลือกสาเปื่อย นำมาล้างน้ำสะอาดแล้วนำมาทุบให้ละเอียดจนยุ่ย (แต่ในปัจจุบันได้มีการนำเครื่องโม่เข้ามาช่วยในการปั่นเปลือกสาให้เอียดเพื่อช่วยทุ่นแรงงานคนและประหยัดเวลาในการทำให้เปลือกสายุ่ย) แล้วจึงนำไปแช่น้ำในอ่างน้ำที่ก่อด้วยปูนซีเมนต์ 2×3 เมตร ลึก ½ เมตร ใช้ไม้คนจนทั่วให้เยื่อสาที่ตกตะกอนอยู่ด้านล่างลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ ใช้ตะแกรงตักกระดาษสาตักเยื่อสาขึ้นมาโดยวิธีการตักเข้าหาตัว แกว่งไปมาบนผิวน้ำจนเยื่อสาเต็มแผ่นตะแกรง แล้วนำไปตากแดดจนแห้งเป็นแผ่นกระดาษสา หมายเหตุ : สมัยก่อน จะต้มกับขี้เถ้า ที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้เปลือกสาสะอาด และทุบด้วยมือ จะได้กระดาษสาที่เหนียวและทน


หัวร่ม


หัวร่ม คือส่วนประกอบที่ใช้ยึดซี่กลอนด้วยการร้อยด้ายยึดทำให้เกิดเป็นโครงร่ม โดยขนาดของหัวนั้นก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของร่มและมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่นหัวจิก ใช้เข้าร่มกับผ้าฝ้ายหัวปียง ใช้เข้ากับร่มกระดาษสาหัวจุกหรือหัวที่มีลวดลาย ใช้สำหรับผ้าแพร


ตุ้ม, ตุ๊มจ้อง (คำเมือง)


ตุ้มคือส่วนที่อยู่ด้านในของร่ม ถัดลงมาจากหัวใช้ทำหน้าที่ยึดซี่ค้ำเพื่อเป็นตัวดันม้าร่มให้ล๊อคไว้จะใช้ด้ายไนลอนในการยึดตุ้มกับซี่ค้ำ


คันถือ, มือก๋ำ (คำเมือง)


คันถือ หรือมือจับ มีลักษณะเป็นส่วนที่ใช้มือจับของตัวร่มมีขนาดและลักษณะไม้ที่ต่างกันจะมีขนาดตั้งแต่ไซส์ 10-12 นิ้วและ 14-20 นิ้ว ไม้ที่ใช้มีสองลักษณะที่นำมาทำคันถือ หรือมือถือคือไม้กึงจะผลิตคันถือสำหรับร่มกระดาษสาและร่มผ้าแพร และไม้ไผ่จะใช้ผลิตคันถือสำหรับร่มผ้าฝ้าย ลวดลายการออกแบบคันถือจะขึ้นอยู่กับช่างที่ทำ


ซี่ค้ำ, ก้ำ (คำเมือง)


ซี่ค้ำคือซี่ไม่ไผ่ที่ต่อลงมากจากด้านล่างของซี่กลอนในส่วนของขนาดและจำนวนก็จะแตกต่างกันไป โดยร่มขนาด10นิ้ว-14นิ้ว จะใช้ซี่ค้ำอยู่ที่ 24 ซี่ร่มขนาด17นิ้ว-20นิ้ว จะใช้อยู่ที่ 28 ซี่ร่มขนาด 40นิ้ว-60นิ้ว จะใช้อยู่ 36 ซี่ และเล็กสุดจะอยู่ที่5นิ้ว จะใช้ทั้งหมด16 ซี่ในจำนวนซี่นั้นจะใช้เท่ากันทั้งซี่ค้ำและซี่กลอนเช่นถ้าร่มขนาด 20 นิ้วจะใช้ซี่28 ซี่ทั้งซี่กลอนและซี่ค้ำ


ซี่กลอนร่ม, ก๋อนร่ม (คำเมือง)


ซี่กลอนร่มหรือภาษาเหนือเรียกว่าซี่กาน มีขนาดตั้งแต่ 5 นิ้ว 10นิ้ว 12นิ้ว 14นิ้ว 17นิ้ว 20นิ้ว 25นิ้ว 30นิ้ว 35นิ้ว 40นิ้ว 50นิ้ว และใหญ่สุดอยู่ที่ 60นิ้ว มีลักษณะเป็นไม้ไผ่ยาวที่อยู่ด้านบนของซี่ค้ำ ขนาดของซี่กลอนนั้นจะมีขนาดหนาบางไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับผ้าที่ห่อหุ้มร่มนั้นเช่น ถ้าหุ้มด้วยผ้าฝ้ายผ้าฝ้ายจะมีลักษณะหนาจึงต้องใช้ซี่กลอนร่มที่มีขนาดหนาเพื่อที่จะรองรับน้ำหนัก ในส่วนของผ้าไหมที่มีน้ำหนักเบาก็จะใช้ซี่กลอนร่มที่มีลักษณะที่บาง


ม้าร่ม (ตัวล๊อค)


ม้าร่ม หรือตัวล็อคโดยใช้วัสดุในการทำคือไม้ไผ่และลวดสปริงมีหน้าที่ช่วยค้ำตัวร่มไว้กับตุ้มเพื่อไม่ให้ร่วงหล่น มักติดอยู่ตรงด้ามยาวของร่มส่วนจะสูงหรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของร่ม


ปลอกลาน


ปลอกลานหรือใบลานจะใช้สำหรับห่อหุ้มส่วนของหัวร่ม มีลักษณะเป็นใบยาวเล็กสีน้ำตาล ก่อนจะนำมาใช้นั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาแช่น้ำไว้ก่อนนำไปใช้เพื่อความเหนียวและทนทานของใบลานหรือปลอกลาน ในส่วนของขนาดของปลอกลานนั้นขึ้นจะอยู่กับขนาดของร่ม


ด้ายร่ม, ฝ้ายผ่าน (คำเมือง)


มีลักษณะเป็นเส้นยาวที่ประกอบด้วยเส้นใยหลายๆเส้นรวมกัน ผิวมีลักษณะเรียบด้ายเป็นส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งในการทำร่มเพราะการทำร่มนั้นจะใช้ด้ายในการยึดทำโครงร่มให้แน่นหนาและแข็งแรงในส่วนประเภทของด้ายนั้นมักจะนิยมใช้ด้ายไนลอนในการยึดโครงร่มเพราะด้ายไนลอนนั้นจะมีลักษณะพิเศษก็คือมีความเหนียวและทนทาน ในส่วนของการตกแต่งโดยใช้ด้ายพันกันขึ้นลงจนเกิดลวดลายภายในซี่ค้ำนั้นมักใช้ด้ายประเภทฝ้ายหรือไหมประดิษฐ์ที่มีหลากสีในการตกแต่ง


สีที่ใช้ในการระบายสีร่ม


สีที่ใช้วาดร่ม คือสีอะคลิลิคน้ำ เป็นสีน้ำที่สดใส เหมาะสำหรับร่มกระดาษและร่มผ้าที่ไม่กันฝน และสีน้ำมัน (ประเภทสีทาภายนอก หรือสีที่ใช้ทาเรือ) จะผสมน้ำมันเบนซิน เพื่อให้วาดภาพได้ง่ายขึ้น ลื่น และสามารถจับติดร่มที่เคลือบด้วยน้ำมันได้เป็นอย่างดี และสามารถกันแดด กันฝนได้


น้ำมันมะพอก (น้ำมันตังอิ๊ว)


น้ำมันมะพอก หรือน้ำมันตังอิ๊ว มีสีคล้ายน้ำมันพืช แต่เหนียวข้น ก่อนนำมาใช้จะต้มโดยการก่อไฟอ่อนๆ แล้วเคี่ยวน้ำมันจนเป็นสีใส จากนั้นนำเทียนไขหรือขี้ผึ้งมาต้มละลายผสมกับน้ำมันตังอิ๊วเพื่อเป็นการเพิ่มความมันวาวให้กับน้ำมันและความลื่นมือเวลาจับร่ม นำน้ำมันตังอิ๊วที่ต้มเสร็จแล้วมาผสมกับสีน้ำมันที่ใช้ลงสีร่ม น้ำมันตังอิ๊วที่ผสมไขจะทำให้ร่มมีความยืดหยุ่นไม่เปราะง่าย สีสันสดใสและมันวาว Parinari anamense Hance, which is the local palm that we use oil from its fruit to mixed with color or just it is to make umbrella’s waterproof. Parinari anamense Hance Mixed oil with colour and apply at least 3 times, on top, underneath then finally coating for water protection and colourful. Each coating, the colour must be 100% dried and the colour on umbrella will last longer


ลูกตังอิ๊ว, บ่ะหมื้อ (คำเมือง)


ตังอิ๊ว, มะพอก หรือบ่ะหมื้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)Parinari anamense Hance. วงศ์ Rosaceae ประเภท (Type of tree) ไม้ยืนต้น ลักษณะโดยทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร ยอดเป็นพุ่มเปลือกต้นหนา สีเทา แตกเป็นร่องลึก ใบเดี่ยวรูปกลมรี โคนกใบมนปลายใบหยักคอด หน้าใบเขียว ท้องใบเหลือบขาว ออกดอกเป็นช่อ ตามปลายกิ่ง มีก้านดอกสั้นมาก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก มีสีขาว มีกลิ่นอ่อนบริเวณโคนดอก รองกลีบดอก เป็นกรวยปากกว้าง ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกกัน มีความยาวเท่าๆ กับกลีบรองกลีบดอก เกสรเพศผู้มี 5-12 อัน รังไข่รูปทรงกลม ผลกลมรีเหมือนไข่ ผิวฉ่ำน้ำเนื้อชุ่มบางเมล็ดเดี่ยวโตแข็ง เกิดได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ รสเฝื่อนเมา ต้มดื่มแก้ประดงผื่นคันตามตัว แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้น้ำเหลืองเสีย น้ำมันจากผลใช้ทากระดาษทำร่ม การทาสีผสมน้ำมันตังอิ๊วนั้น จะต้องทาทับด้านบนของกระดาษสา หรือผ้าฝ้ายที่หุ้มบนร่มให้ทั่ว จากนั้นนำออกตากแดดให้แห้งสนิท จากนั้นจึงนำกลับมาทาทับอีกครั้ง โดยเฉพาะจะต้องเก็บสีที่ด้านในของร่ม เพื่อให้สีกลมกลืนกันและดูสวยงาม นำออกตากแดดอีกครั้ง จากนั้น ควรจะนำร่มมาทาสีเพื่อเคลือบด้านบนอีกครั้ง การลงสีครั้งนี้ เพื่อให้ร่มเกิดความเงางามและคงทนยิ่งขึ้น Parinari anamense Hance, which is the local palm that we use oil from its fruit to mixed with color or just it is to make umbrella’s waterproof. Parinari anamense Hance Mixed oil with colour and apply at least 3 times, on top, underneath then finally coating for water protection and colourful. Each coating, the color must be 100% dried and the colour on umbrella will last longer


ลูกตะโก


ตะโก ชื่อวิทยาศาสตร์Diospyiosrhodcalyxวงศ์Ebenaceaeชื่อพื้นเมืองตะโกนา, โก, นมงัว, มะโก, มะถ่าน, ไฟผี, พระยาช้างดำลักษณะโดยทั่วไปเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็งและเหนียว อายุยืนยาว ลำต้นมีเปลือกหุ้มสีดำแตกเป็นสะเก็ดหนาๆ ฝัก หรือผล มีลักษณะกลมเมื่ออ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง โคนและปลายผลมักบุ๋ม มียางมากฤดูกาลออกดอกจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม- เมษายนในการนำมาทำร่มจะใช้แป้งเปียกผสมกับยางของลูกตะโกที่ได้จากการทุบตะโกให้ละเอียดแล้วนำไปดองไว้ประมาณ 3 เดือนจึงนำออกมาใช้ น้ำตะโกจะช่วยทำให้ร่มกันฝนได้และทำให้ร่มตึง ทั้งยังช่วยให้แป้งเปียกเหนียวยึดวัสดุที่ใช้คลุมร่มเข้ากับโครงร่มได้สนิทยิ่งขึ้น


ไม้กระท้อน


ไม้กระท้อน ชื่อพฤกษศาสตร์ Sandoricumkoetjape ( Burm. F.) Merr. วงศ์ MELIACEAE ไม้กระท้อนนำมาจากต้นกระท้อนซึ่งเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปล่า ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ต้นกระท้อนสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เนื้อไม้ ใช้ทำกระดานพื้น เครื่องเรือน ลังใส่ของ ฝา เพดาน วงกบประตู หน้าต่าง ผลแก่ กินเป็นผลไม้ และแทนผัก ราก รักษาโรคบิด ต้นกระท้อนมีถิ่นกำเนิดในทุกภาคของประเทศ เป็นไม้ประจำป่าดิบแล้งและชื้น พบบริเวณใกล้แหล่งน้ำที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100 - 700 เมตร ซึ่งส่วนประกอบของร่มคือหัวและตุ้มทำมาจากไม้เนื้ออ่อนหลายชนิดซึ่งภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ไม้กระท้อน หรืออาจใช้ ไม้ตีนเป็ด ไม้ส้มเห็ด ไม่ตุ้มคำ และไม้แก การทำหัวและตุ้มนี้ใช้วิธีกลึงโดยเครื่องมือโบราณ ซึ่งเป็นวิธีการที่บรรพบุรุษได้เคยใช้ทำมาก่อน


สา, ปอสา


สา หรือปอสา ชื่อสามัญ Paper mulberry ชื่อทางพฤกษศาสตร์ Broussonetiapapyrifera (L.) L’Herit วงศ์ MORACEAE มีแหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์จากประเทศจีน และญี่ปุ่นปอสาจึงเป็นไม้ต้นพื้นเมืองในแถบจีนและญี่ปุ่น และเป็นพืชในวงศ์เดียวกับต้นหม่อนที่นำใบมาใช้เลี้ยงไหม การเก็บเปลือกไม้จากต้นปอสาเพื่อนำไปใช้ทำกระดาษสา มักเก็บจากป่า และทำการลอกเปลือกลำต้นปอสาซึ่งมีอายุราว 6-12 เดือน ลำต้นปอสามีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 3-5 เซนติเมตร โดยอาจใช้วิธีลอกสด ต้ม ย่าง ทุบ หรือขูดก็ได้ จากนั้นจะลอกเอาแต่เปลือกชั้นในมาคัดคุณภาพ ตัด แล้วแช่น้ำค้างคืน ต้มกับด่างฟอกขาว ตีป่น และย้อมสี ในการทำกระดาษสาจะใช้เส้นใยที่ตีป่นแล้ว นำมาลอยในน้ำ ทิ้งให้ตกตะกอนเป็นแผ่นบางๆบนตะแกรง เขย่าและช้อนตะแกรงขึ้น แล้วนำตะแกรงไปตากแดดหรือใส่ในตู้อบ เมื่อแห้งแล้วจะลอกกระดาษออกจากตะแกรงได้เป็นแผ่นและนำกระดาษสามาเป็นส่วนประกอบในการทำร่ม


ไผ่รวก


ไผ่รวกชื่อวิทยาศาสตร์ Thyrsostachyssiamensis Gambleวงศ์ Gramineaeชื่อพื้นเมือง ตีโย รวก ว่าบอบอ แวบ้าง แวปั่งฮวก สะลอมลักษณะโดยทั่วไป เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี เป็นไม้พุ่มเป็นกอ ลำต้นตั้งตรง กลม เป็นทรงกระบอกกลวง ขนาด 2- 5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง สีเขียวอมเทา ไม่มีหนาม เนื้อเเข็ง มีข้อปล้องชัดเจนแต่ละปล้องจะยาว15-30 เซนติเมตร มีเหง้าใต้ดินสั้น ไม่ทอดขนานไปทางระดับจะใช้ในส่วนของลำต้นมาทำเป็นด้ามร่ม


ไผ่ซาง


ไผ่ซาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrocalamusstrictus (Roxb.) Neesวงศ์Poaceaeชื่อท้องถิ่นไม้ซาง(คนเมือง), ครั่งเปร้า(ปะหล่อง), ลำซาง(ลั้วะ), เพ้าเบี่ยง(เมี่ยน)ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ไผ่หน่ออัดใบ ลำต้นมีสีเขียวอ่อน ไม่มีหนาม ผิวเป็นมัน มีกิ่งเเขนงมาก สูงประมาณ 6-20 เซนติเมตร มีเนื้อประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ปล้องยาวประมาณ 15-50 เซนติเมตร เนื้อไม้หยาบ โดยทั่วไปลำต้นมีไม้ผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-12.5 เซนติเมตร ถ้าพบบริเวณเนินเขาสูงลำต้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,5-10 เซนติเมตร ข้างนอกกาบจะมีขนแข็งสีน้ำตาลเหลือง ในพื้นที่เเห้งเเล้งอาจจะไม่มีขนขณะที่ยังอ่อน กาบหุ้มลำมีสีเขียวอมเหลือง ครีบกาบเล็กหรือไม่มีกระจังกาบเเคบหยักซึ่งจะใช้ในส่วนของลำต้นมาทำเป็นโครงร่มขนาดใหญ่


ไผ่บง


ไผ่บง ชื่อวิทยาศาสตร์ Bambusanutans Wall. Ex Munro วงศ์ GRAMINEAE พบได้ในแถบภาคเหนือ และภาคกลาง เป็นไม้ยืนต้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นต้นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8เซนติเมตร สูงประมาณ 6-10 เมตร ขึ้นเป็นกอแน่น ผิวของลำไม่เรียบ และจะเห็นลักษณะคล้ายขนสีนวลหรือสีเทา บางครั้งมีผงคล้ายแป้งติดอยู่ที่ลำ โดยเฉพาะตรงส่วนของโคนลำ จึงทำให้ลำสีเขียวเข้มอมเทา มีส่วนที่สามารถนำไปบริโภค คือหน่ออ่อน การขยายพันธุ์ คือการใช้เหง้า ปักชำลำ หรือเมล็ด ส่วนที่นำมาใช้ทำเป็นโครงร่มคือส่วนของลำต้น


เครื่องกลึงหัวร่ม (แบบโบราณ, แบบมอเตอร์)


เครื่องกลึงหัวร่ม อดีตจะใช้เครื่องกลึงแบบไม้ มีคานนั่ง ใช้เหล็กในการยึดไม้ ใช้เชือกหรือหนังควาย ที่มีความเหนียว ทนทาน โยงกับไม้คานที่คาดบนหลังคาหรือที่สูงลงมาต่อกับไม้เหยียบ (ทำหน้าที่ผลักพลังงาน ทำให้แกนเครื่องกลึง หมุน ส่วนจะหมุนแรงหรือหมุนเบานั้น ขึ้นอยู่กับแรงเหยียบของช่างแต่ละคน และความเรียบของท่อนไม้ที่จะนำมาทำหัว ตุ้มร่ม) ซึ่งใช้แรงคนในการเหยียบตัวไม้ให้เหล็กที่ยึดไม้หมุนและใช้มีดกลึงหัวร่มกลึงไปตามจังหวะการเหยียบไม้ แต่ในปัจจุบันได้ใช้เครื่องหมุนมอเตอร์เข้ามาช่วยในการกลึงหัวร่มเพื่อความรวดเร็วประหยัดเวลาและแรงคนในการกลึงหัวร่ม


ตะแกรงตักกระดาษสา, พิมพ์สา (คำเมือง)


ตะแกรงตักกระดาษสา ลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 40×60 เซนติเมตร (หรือตามความต้องการ) ใช้เพื่อช้อนตักเยื่อกระดาษสาที่แช่อยู่ในอ่างน้ำ โดยจะช้อนตักเยื่อเข้าหาตัวยกตะแกรงขึ้นตรงๆแล้วเทน้ำออกไปทางด้านหน้าโดยเร็วจะช่วยให้กระดาษมีความบางเสมอกัน ไม้กรอบของตะแกรงจะทำจากไม้สัก เพราะเป็นไม้ที่มีความทนทาน ไม่เปราะบาง หรือบิดงอได้ง่ายเพื่อทนต่อการโดนน้ำและตากแดดหลายครั้งในการทำกระดาษสา