หน้าแรก
ประวัติความเป็นมา
ประวัติพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์
?>
สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม
โบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ
ทัศนศิลป์
เอกสารหนังสือ
สื่อโสตทัศน์
เครื่องมือเครื่องใช้
เครื่องแต่งกาย
วิถีชีวิต
ชาติพันธ์
ศาสนาและความเชื่อ
ประเพณีและพิธีกรรม
ร่ม
การทำร่ม
ส่วนประกอบของร่ม
บุคคลสำคัญ
ศิลปิน
ปราชญ์ชาวบ้าน
บุคคลสำคัญทางศาสนา
เครื่องมือเครื่องใช้
วัตถุดิบในการทำร่ม
ส่วนประกอบร่ม
ขั้นตอนการทำร่ม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
ร่มบ่อสร้าง โดย ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
พิพิธภัณฑ์
ขั้นตอนการทำร่ม
ส่วนประกอบร่ม
วัตถุดิบในการทำร่ม
เครื่องมือเครื่องใช้
ร่ม
การทำร่ม
ส่วนประกอบของร่ม
วิถีชีวิต
ชาติพันธ์
ศาสนาและความเชื่อ
ประเพณีและพิธีกรรม
สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม
โบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ
ทัศนศิลป์
เอกสารหนังสือ
สื่อโสตทัศน์
เครื่องมือเครื่องใช้
เครื่องแต่งกาย
บุคคลสำคัญ
ศิลปิน
ปราชญ์ชาวบ้าน
บุคคลสำคัญทางศาสนา
ซองจดหมายเหล็ก
ซองจดหมายเหล็กแดง
ซองจดหมายเหล็กแดงอ่อน
AAAAAAad
BBBBBB
--กกกก
--dd
ก
--dd
--dd
555d
กก
xddd
เส้นทางท่องเที่ยว
กิจกรรม
ติดต่อเรา
ขั้นตอนการเขียนลวดลายบนร่ม
การเขียนลวดลายลงบนร่มนั้นในสมัยก่อนไม่ค่อยนิยมมากนักเหมือนในปัจจุบัน ใช้เพียงสีพื้น 2 สี คือสีดำและสีแดงในการลงสีร่มเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาร่มในรูปแบบต่างๆและหลากหลายสีสัน มีการใช้สีเขียนลวดลายลงบนร่ม โดยใช้สีอะคลิลิคน้ำ ที่เป็นสีน้ำสดใส สำหรับวาดร่มกระดาษและร่มผ้าที่ไม่กันฝน ส่วนร่มผ้าน้ำมันแต่เดิม ใช้สีฝุ่นผสมน้ำมัน ในการวาดร่ม ซึ่งสีฝุ่นเป็น Pigment ในการผสมให้เกิดสีต่างๆ แต่ปัจจุบัน สีที่ใช้วาดร่มผ้าเคลือบน้ำมัน จะใช้เป็นสีน้ำมัน ผสมกับน้ำมันเบนซิน เพื่อให้วาดได้ง่าย ลื่น และสามารถจับติดร่มที่เคลือบด้วยน้ำมันได้เป็นอย่างดี และสามารถกันแดด กันฝนได้ ซึ่งลวดลายที่เขียนลงบนร่มมีหลากหลายลวดลาย เช่น ลายดอกไม้ต่างๆ (กล้วยไม้) ลายจากธรรมชาติ (วิวทิวทัศน์, น้ำตก, ทะเล, ป่าไม้) และลายสัตว์ต่างๆ (นก, ช้าง, เสือ ฯ)
ขั้นตอนการกลึงหัว, ตุ้ม, และจิก(ยอด) ร่ม
การกลึงหัว, ตุ้มและจิก(ยอด)ร่ม เริ่มจากการนำไม้กระท้อนที่ถูกตัดมาเป็นแท่งยาวประมาณ 12 นิ้ว มาตัดให้เป็นทรงกลม ใช้สว่านเจาะรูเป็นวงกลมตรงกลางแท่งไม้ แล้วนำไปสอดเข้าเครื่องหมุนมอเตอร์ จากนั้นใช้มีดกลึง กลึงแบ่งท่อนไม้ออกเป็นสามส่วนเท่าๆกัน และตัดแบ่งท่อนไม้ตามรอยที่กลึงไว้ ส่วนหัวร่มใช้เครื่องใบมีดมอเตอร์แฉกส่วนบนเป็นซี่ๆ สำหรับยึดซี่กลอนร่ม ส่วนตุ้มร่มจะกลึงให้มีลักษณะส่วนล่างคล้ายลูกตุ้มไว้สำหรับยึดม้าร่ม (ตัวล็อค) และใช้เครื่องใบมีดมอเตอร์แฉกส่วนบนเป็นซี่สำหรับยึดซี่ค้ำ ส่วนจิกร่ม (ยอดร่ม) เป็นส่วนที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของร่ม โดยส่วนใหญ่จะใช้ไม้มะม่วงที่มีเนื้ออ่อนกว่าไม้กระท้อนมากลึงเป็นจิก (ยอด)ในลักษณะต่างๆ เช่น จิกทรงคล้ายพระธาตุ
ขั้นตอนการทำโครงร่ม
โครงร่มจะประกอบด้วย 2 ส่วน หลัก คือ ซี่ค้ำและซี่กลอน โดยขั้นตอนการทำจะเริ่มจากการนำไม้ไผ่บงมาตัดเป็นท่อนๆ แล้วแต่ขนาดของร่มที่ต้องทำ เสร็จแล้วผ่าไม้เป็นซี่ๆ นำไปเหลาเป็นซี่ค้ำและซี่กลอนของร่ม โดยจะต้องเหลาให้มีความหนาบางเท่ากันทุกซี่ (ซึ่งร่มแต่ละขนาดจะมีจำนวนซี่ไม่เท่ากัน) จากนั้นใช้สว่านมือเจาะรูลงบนซี่ค้ำและซี่กลอนที่เหลาเสร็จแล้วสำหรับใช้ร้อยด้ายประกอบเข้ากับหัวและตุ้มร่มเพื่อขึ้นเป็นโครงร่ม และไว้สำหรับสนด้ายเป็นลวดลายใต้ร่ม เสร็จแล้วนำไปตากแดดจนแห้งสนิท นำไปแช่น้ำยาและตากอีกครั้งจนแห้ง เก็บไว้รอขั้นตอนการหุ้มร่ม
การร้อยด้ายประกอบโครงร่ม
ขั้นตอนการร้อยด้ายประกอบโครงร่ม จะร้อยประกอบโดยใช้ด้ายไนลอน เพราะเป็นด้ายที่มีความเหนี่ยวและทนทาน ไม่ขาดง่าย ร้อยประกอบซี่ค้ำเข้ากับตุ้ม และซี่กลอนเข้ากับหัวร่ม ตามรอยที่ได้เจาะไว้ตอนเหลาซี่ไม้ เสร็จแล้วนำทั้งสองส่วนมาร้อยประกอบเข้ากัน โดยซี่กลอนจะอยู่ด้านบนส่วนซี่ค้ำอยู่ด้านล่าง ขั้นตอนการสนด้ายเป็นลวดลายต่างๆใต้ร่ม จะร้อยโดยใช้ไหมประดิษฐ์หลากสี สนด้ายเข้าตามรูที่เจาะไว้ตามซี่ค้ำและซี่กลอนเป็นลวดลายต่างๆ ตามรูปแบบของร่มแต่ละขนาดแต่ละประเภท
ขั้นตอนการทำกระดาษสาจากเปลือกของต้นสา
ขั้นตอนการทำกระดาษสาจากเปลือกต้นสา เริ่มจากการใช้ไฟรนต้นสาเพื่อจะได้นำเปลือกสาออกมาได้ง่าย เมื่อได้เปลือกสาแล้วจะนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำไปต้มกับโซดาไฟประมาณ 3-4 ชั่วโมงจนเปลือกสาเปื่อย นำมาล้างน้ำสะอาดแล้วนำมาทุบให้ละเอียดจนยุ่ย (แต่ในปัจจุบันได้มีการนำเครื่องโม่เข้ามาช่วยในการปั่นเปลือกสาให้เอียดเพื่อช่วยทุ่นแรงงานคนและประหยัดเวลาในการทำให้เปลือกสายุ่ย) แล้วจึงนำไปแช่น้ำในอ่างน้ำที่ก่อด้วยปูนซีเมนต์ 2×3 เมตร ลึก ½ เมตร ใช้ไม้คนจนทั่วให้เยื่อสาที่ตกตะกอนอยู่ด้านล่างลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ ใช้ตะแกรงตักกระดาษสาตักเยื่อสาขึ้นมาโดยวิธีการตักเข้าหาตัว แกว่งไปมาบนผิวน้ำจนเยื่อสาเต็มแผ่นตะแกรง แล้วนำไปตากแดดจนแห้งเป็นแผ่นกระดาษสา หมายเหตุ : สมัยก่อน จะต้มกับขี้เถ้า ที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้เปลือกสาสะอาด และทุบด้วยมือ จะได้กระดาษสาที่เหนียวและทน
1