Slider

ลานตะบูน

ชุมชน บ้านท่าระแนะ

มหัศจรรย์ลานต้นตะบูนอายุมากกว่า 200 ปี พื้นที่กว้างประมาณ 2 ไร่ รอท่านมาเยือนบ้านท่าระแนะ จ.ตราด เมื่อเข้ามาแล้ว จะเห็นรากต้นตะบูนขนาดใหญ่สอดประสานกันเป็นร่างแห กระจายไปทุกทิศทางคดเคี้ยวคล้ายงู จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นอาณาจักรของต้นตะบูน สร้างความอัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น ในสมัยก่อนชุมชนใช้เป็นที่นั่งพักเมื่อเข้ามาวางลอบไม้ดักปู หรือเข้ามาจับปูแสม เพราะตามแนวรากตะบูน จะมีสัตว์น้ำต่างๆ เช่น ลูกปู ลูกหอย เข้ามาหลบอาศัย จึงเป็น “ซุปเปอร์มาร์เก็ต” ที่ชุมชนเข้ามาจับจ่ายใช้สอยเพื่อเป็นอาหาร และหารายได้เล็กๆ น้อย พอเลี้ยงชีพ ชุมชนเห็นประโยชน์ ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ และทำเป็นเส้นทางเดินธรรมชาติผ่านตลอดแนวของลานตะบูน มีที่นั่งพักผ่อน จุดถ่ายภาพ ชื่นชมธรรมชาติอย่างใกล้ชิด จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวไม่ควรพลาดที่ ท่าระแนะ จ.ตราด

ข้อมูลเพิ่มเติม
Slider

เตาทุเรียง หมายเลข 42

ชุมชน บ้านหนองอ้อ สุโขทัย

โครงการศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลกศรีสัชนาลัย ระยะที่ 3 มีเตาทับถมกันอยู่จำนวนมาก ค้นพบเตาทรงประทุนเรือ และเตาทรงตะกรับ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูคล้ายเตาอั้งโล่ เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ในอดีตมีการขนส่งทางน้ำ มีการซื้อขายสินค้าออกนอกประเทศ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศอื่น ๆ ภายในแถบเอเชีย เตาทุเรียง แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของชาวหนองอ้อ เป็นเตาเผาเครื่องสังคโลกที่ทำเป็นรูปทรงประทุนเรือ มีห้องโถงเอาไว้ตั้งเครื่องสังคโลกโดยใช้กี่ คือ แท่งกลม ๆ ที่เอาไว้วางเครื่องสังคโลก มีปากเตาไว้เติมฟืนและมีปล่องควันด้านบน ในสมัยโบราณนิยมใช้ไม้ไผ่สีสุก (Bambusa blumeana) ซึ่งเป็นไผ่ที่ชอบขึ้นอยู่ตามริมน้ำและพบได้ทั่วไปตามริมฝั่งแม่น้ำยม ที่สำคัญไผ่ชนิดนี้ไม่ใช่ไม้หวงห้ามทางกฏหมายแต่อย่างได ในปัจจุบันเหตุที่ใช้ไม้ไผ่เนื่องจากให้ความร้อนสูงกว่าไม้ฟืนทั่ว ๆ ไป เมื่อเตาเกิดผุพังลงก็จะมีการปั้นเตาใหม่ทับพื้นที่เดิม จึงมักขุดพบเตามีลักษณะซ้อนกัน กรมศิลปากรได้ขุดค้นเตาแห่งนี้และบูรณะจนเกือบสมบูรณ์พร้อมกับมีอาคารจัดแสดงประวัติของเตาทุเรียงให้ได้ศึกษาหาความรู้และรับชมอย่างเพลิดเพลิน

ข้อมูลเพิ่มเติม
Slider

หาดท้ายเหมือง

ชุมชน บ้านท่าดินแดง พังงา

ชุมชนบ้านท่าดินแดง มีพื้นที่ติดกับแนวหาดทรายยาวเหยียดของหาดท้ายเหมือง ที่ อยู่ในพื้นที่การดูแลของอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เป็นหาดทรายขาวที่มีแนวยาวเป็นเส้นตรง ตลอดแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยมีความยาวกว่า 13 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยขับรถผ่านทางเข้าอุทยานฯ หรือขึ้นเรือที่ชุมชนบ้านท่าดินแดง ผ่านแนวป่าชายเลน และเดินตัดทุ่งหญ้าสะวันนา ทะลุมาถึงหน้าหาดท้ายเหมือง ตรงบริเวณใกล้กับเขาหน้ายักษ์ เป็นการเดินทางที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เพราะได้ชมความงามของระบบนิเวศชายฝั่งที่ครบครัน ทั้งป่าชายเลน ป่าพรุ ทุ่งหญ้า ป่าชายหาด หาดหิน หาดทราย ความสวยงามและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสัตว์ที่ในบริเวณชายหาดท้ายเหมือง เป็นตัวชี้วัดว่าชายหาดแห่งนี้เงียบสงบ ไม่ค่อยมีการรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์ และอีกสิ่งหนึ่งที่ยืนยันขึ้นความเงียบ ปราศการการรบกวนได้เป็นอย่างดีคือ การที่เต่ามะเฟือง เต่าทะเลขนาดใหญ่ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ ขึ้นมาวางไข่บนชายหาดท้ายเหมือง นี่ยังไม่รวมถึงการที่วาฬ และสัตว์ทะเลหายากต่างแวะเวียนเข้ามาใกล้ชายฝั่งทะเลแถวบริเวณหาดท้ายเหมือง

ข้อมูลเพิ่มเติม
Slider

เรือนฝาค้อ บ้านโคกสลุง

ไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง เป็นเรือนฝาค้อ หลังคา ทรงจั่ว ใต้ถุนสูง จัดแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ยังเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตอีกด้วย เมื่อมองเข้าไปยังพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทเบิ้ง โคกสลุง จะมีเรือนไม้โบราณ ตั้งอยู่เด่นเป็นสง่า ดูเผินคล้ายเรือนที่ทำจากวัสดุ อย่าง ไม้ไผ่ หรือ หญ้าคา ที่เห็นได้ทั่วไป แต่ที่จริงแล้ว เป็นเรือนฝาค้อ เรือนไม้โบราณของโคกสลุง เรือนนี้ เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว มีนอกชาน มีบานหน้าต่างที่ไม่ใหญ่มาก ฝาเรือนทำจากฟากไม้ไผ่ที่ถูกสับและผ่าตามความยาวคลี่ออกเป็นแผ่นอยู่ด้านใน กรุด้วยใบค้อ และประกบด้วยแผงไม้ไผ่ด้านนอก แล้วจึงนำมากั้นเป็นฝาเรือน ต้นค้อเป็นพืชตระกูลปาล์มที่พบมากในบริเวณแม่น้ำป่าสัก เรือนฝาค้อจึงเป็นตัวอย่างของภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในการสร้างที่อยู่อาศัยของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ที่สัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้อย่างลงตัว จนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นที่น่าสนใจ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ชุมชนวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ

Blog

บ้านท่าระแนะ

จังหวัดตราด
Blog

ชุมชนบ้านหนองอ้อ

จังหวัดสุโขทัย
Blog

ชุมชนไทยญ้อ บ้านโพน

จังหวัดนครพนม
Blog

บ้านสุขสมบูรณ์

จังหวัดนครราชสีมา
Blog

บ่อสวก

จังหวัดน่าน
Blog

ไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง

จังหวัดลพบุรี
Blog

ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง

จังหวัดสุพรรณบุรี