เตาหุงต้มในสมัยโบราณ

รายละเอียด

  

เตาหุงต้มในสมัยโบราณ ที่ใช้กันในชุมชนไทญ้อบ้านโพนในสมัยก่อน มีหลักการคิดในการทำเตาไฟโดยมีพื้นฐานมาจากการทำเตาไฟที่เก่าแก่ที่สุด โดยเรียนแบบเตาไฟเก่าแก่ที่นำก้อนหิน 3 หรือ 4 ก้อนมาวางเรียงกันเป็นวงแล้วก่อไฟตรงกลางก้อนหินจะช่วยให้วางหม้อหรือภาชนะสำหรับหุงต้มได้สะดวกซึ่งเรียกว่า เตาก้อนเส้า แต่มีข้อจำกัดในการใช้สอยคือ ไม่มีที่บังลมหากก่อไฟในที่แจ้งหรือมีลมพัดแรงก็จะไม่สามารถก่อไฟได้นอกจากนี้เตาก้อนเส้าต้องก่อไฟบน พื้นดินเพราะไม่มีสิ่งรองรับกองไฟไม่สามารถนำไปใช้ในอาคารได้ต่อมาจึงมีผู้ทำแม่สีไฟหรือแม่เตาไฟเพื่อเป็นพื้นรองรับเตาไฟสามารถนำไปใช้ในครัวไฟ (ห้องครัว) ในเฮือนไทญ้อได้ ซึ่งเตาหุงต้มในสมัยโบราณที่พบในชุมชนไทญ้อ มีลักษณะเป็นเหล็ก 3 ขา คล้ายกับการวางก้อนหินนำมาทำ เตาก้อนเส้า ยกสูงขึ้นประมาณ 5 นิ้ว ไม่มีที่บังลมและสามารถใส่เชื้อเพลงที่เป็นไม้ฟืนสอดเข้าไปใต้เตาเหล็ก 3 ขา เพื่อเติมเชื้อเพลงในระหว่างประกอบอาหารได้   



เตาไฟโบราณ เป็นลักษณะเตาวงที่จะช่วยให้วางหม้อหรือภาชนะสำหรับหุงต้มได้สะดวก โดยอาจจะใช้ไม้หรือวัสดุมาบังลมในกรณีที่มีลดพัดแรง โดยพื้นของเตาจะเป็นพื้นดินเพื่อเอาไว้วางฟืนและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงเป็นเสมือนชนวนกันไฟไหม้หากมีการใช้เตาอีกด้วย