­
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • พิพิธภัณฑ์
    • ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากดอกไม้เพลิง
    • ดอกไม้เพลิง
  • เส้นทางท่องเที่ยว
  • กิจกรรม
  • ติดต่อเรา
ดอกไม้เพลิง
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • พิพิธภัณฑ์
    • ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากดอกไม้เพลิง
    • ดอกไม้เพลิง
  • เส้นทางท่องเที่ยว
    • ถ้ำ
    • ชายฝั่ง
  • กิจกรรม
  • ติดต่อเรา

ดอกไม้เพลิง

การเล่นดอกไม้เพลิงที่เป็นรูปแบบดังในปัจจุบันนี้ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มมีตั้งแต่เมื่อใด แต่การเล่นเกี่ยวกับประกายไฟมีหลักฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สำหรับในไทยมีการเล่นไฟในพิธีกรรมต่าง ๆ ปรากฏหลักฐานตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ความว่า “ เมืองสุโขทัยนี้มีสีปากประตูหลวง เที่ยวย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก " ต่อมาในสมัยอยุธยา การจุดดอกไม้ไฟได้เข้ามามีบทบาทในฐานะเครื่องสักการะบูชาทางศาสนาในพระราชพิธีหลวงทั้งที่เป็นงานสมโภชในโอกาสอันเป็นมงคลและในงานพระเมรุมาศ ซึ่งปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่าง ๆ อาทิงานพระเมรุมาศพระบรมศพสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.๒๒๒๕ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงสยาม ต้นฉบับของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน ความว่า “…จึงเชิญพระบรมโกศเข้าประดิษฐานในพระเมรุทอง ทรงพระกรุณาให้มีการมหรสพสมโภช และดอกไม้เพลิงต่างๆ และทรงสดัปกรณ์ พระสงฆ์ ๑๐๐๐๐ รูป คำรบ ๗ วันแล้วถวายพระเพลิง” ดอกไม้เพลิงในสมัยนั้นน่าจะมีหลายประเภท แต่ที่นิยมคือ ระทา จุดมุ่งหมายของการเล่นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเพราะถือกันว่าการจุดดอกไม้เพลิงนั้นเป็นการบูชาที่มีองค์ประกอบครบสมบูรณ์คือ มีแสงเป็นพุ่มดอกไม้แทนดอกไม้ มีควันแทนธูป และมีแสงแทนเทียน สิ่งที่จะได้นอกเหนือจากนี้ก็คือความเพลิดเพลินของคนดู และความยิ่งใหญ่ของงาน เพราะการจะตั้งระทาดอกไม้เพลิง แต่ละครั้งนั้นจะต้องใช้ทุน งานที่มีการจุดดอกไม้เพลิงจึงมักจะมีเฉพาะงานใหญ่ของผู้มีอำนาจวาสนา ในสมัยกรุงธนบุรี มีการจุดดอกไม้เพลิงในลักษณะเดียวกับช่วงกรุงศรี... อ่านต่อ