โก๋งกว้าง / ระวิง


โก๋งกว้างหรือระวิง เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับกรอด้าย ทำงานร่วมกับอัก เพื่อเก็บด้ายที่ปั่นแล้วจากไนมาพันรวมกันที่ระวิง โดยช่างกรอด้ายจะนำเส้นด้ายมาตรวจตราความเรียบร้อยอีกครั้ง เพื่อเก็บส่วนที่เป็นปม หรือขุยด้ายที่ติดพันมาตอนปั่นด้ายออกให้เรียบร้อย ก่อนกวักเข้าอักเพื่อให้เส้นด้ายหรือเส้นไหมเป็นระเบียบเรียงกันเป็นไจ ก่อนนำไปต้มหรือทำการย้อมสี


กวงปั่นฝ้าย / บะลุ๊ก (ภาษาไตลื้อ)


“กวงปั่นฝ้าย” หรือภาษาไตลื้อเรียกว่า “บะลุ๊ก” เดิมเป็นสมบัตินางบัวไหล บัวเพิ่มพูล ชาวไทลื้อ เก็บสะสมมากว่า 120 ปี เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปั่นด้ายหรือกรอด้ายเข้าหลอดก่อนนำเข้ากี่เพื่อนำไปทอเป็นผืนผ้า ลักษณะของกวงปั่นฝ้าย ประกอบด้วย ไม้ค้ำ 2 ด้าน มีตัวหมุนหรือตัวปั่นอยู่ตรงกลาง ซึ่งมีลักษณะเป็น 4 แฉก ทำหน้าที่กวักเพื่อเก็บด้ายที่ปั่นดีแล้วจากเหล็กในมาพันรวมกันที่กวง ช่างปั่นด้ายจะนำเส้นด้ายที่ได้มาตรวจตราความเรียบร้อยอีกครั้งเพื่อเก็บส่วนที่เป็นปมหรือขุยด้ายที่ติดพันมาก่อนนำไปใช้งาน


หวีสางคา


หวีสางคา หรือไม้สาง เดิมเป็นของนางอุษา บุญชุ่มใจ ได้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ เป็นอุปกรณ์สางหญ้าคาที่ใช้มุงยุ้งข้าว


กระดิ่งควาย / ฮอกควาย (ภาษาไตลื้อ)


กระดิ่งควาย หรือภาษาไทลื้อ เรียกว่า “ฮอกควาย” ใช้สำหรับห้อยคอสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย เพราะการเลี้ยงสัตว์ในอดีตนั้นเป็นการเลี้ยงปล่อย คือ การปล่อยสัตว์ตามทุ่งนาป่าไร่ ฉะนั้นการตามหาสัตว์เลี้ยงจึงเป็นเรื่องยาก ชาวบ้านจึงประดิษฐ์ฮอกควายขึ้นเพื่อห้อยคอสัตว์ ทำให้ได้ยินเสียงเมื่อสัตว์เดินไปไหนมาไหน ฮอกควายชิ้นนี้เดิมเป็นสมบัติของนายพรหมา บุญชุ่มใจ


ไม้พายข้าวเหนียว / ไม้ด้ามข้าว (ภาษาไตลื้อ)


ไม้พายข้าวเหนียว หรือไม้ด้ามข้าว ใช้สำหรับคนข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ หรือใช้ตนส่วนผสมในการทำอาหาร มีลักษณะเหมือนไม้พายเรือ ไม้พายข้ามชิ่นนี้มีขนาดความยาว 39 เซนติเมตร ความกว้าง 6 เซนติเมตร สภาพสมบูรณ์ ไม้พายข้าวชิ้นนี้เดิมเป็นของนายพรหมา บุญชุ่มใจ ซึ่งปัจจุบันได้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ฯ


แมวขูดมะพร้าว / แมวขูดบะป้าว (ภาษาไตลื้อ)


แมวขูดมะพร้าว หรือแมวขูดบะป้าวในภาษาไตลื้อ หรือบางบ้านเรียกกระต่ายขูดมะพร้าวหรือเหล็กขูดก็ได้ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับขูดมะพร้าวที่ยังไม่ได้กะเทาะเปลือกออก การเรียกชื่อแมวขูดมะพร้าวหรือกระกระต่ายขูดมะพร้าวนั้นอาจเนื่องมาจากฟันที่ใช้ขูดมะพร้าวมีลักษณะเป็นซี่ยาวเหมือนฟันกระต่ายประกอบกับการทำโครงไม้ซึ่งใช้เสียบฟันขูดมักทำเป็นตัวสัตว์แมวหรือกระต่ายมากกว่าประเภทอื่น จากการสอบถามได้ความว่าสมัยก่อนนั้นเดิมจะใช้ช้อนทำกะลามะพร้าวขูดให้เป็นฝอยต่อมาทำเป็นฟันซี่โดยรอบโดยใช้ไม้ไผ่บากรอยเป็นซี่จนกระทั่งมีการใช้เหล็กมาทำเป็นของใช้จึงเปลี่ยนตามยุคสมัย ขนาดของแมวขูดมะพร้าวมีความยาว 53.2 เซนติเมตร สูง 13.2 เซนติเมตร กว้าง 17.5 เซนติเมตร แม่อุ้ยจันติ๊บ บัวมะลิมอบให้ศูนย์การเรียนรู้ ปัจจุบันแม่อุ้ยได้เสียชีวิตแล้ว


ไม้โกงเกง / โก๋งเกง (ภาษาไตลื้อ)


ไม้โก๋งเกงเป็นไม้ยาวเลยศรีษะ ขนาดพอดีมือ ส่วนใหญ่นิยมใช้ไม้ไผ่ ลิดตามข้อให้เกลี้ยงจากปลายด้านหนึ่งสูงขึ้นมาประมาณครึ่งท่อนจะเจาะรูและใช้ไม้ไผ่ขนาดเล็ก ท่อนสั้นเหลาปลายให้พอดีกับช่องที่เจาะไว้ใส่เข้าไปในช่องที่เจาะ ให้ไม้ท่อนสั้นตั้งฉากกับไม้ท่อนยาว ตอกตะปูเพื่อความหนาแน่นของไม้ ไม้โก๋งเกงชิ้นนี้มีขนาดความกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 33.5 เซนติเมตร สูง 183 เซนติเมตร มีสภาพสมบูรณ์


เครื่องเก็บด้าย / เปียด้าย (ภาษาไตลื้อ)


ที่เก็บด้าย หรือในภาษาไตลื้อเรียกว่า เปียด้าย ทำจากไม้เนื้อแข็งโดยที่รูปแบบหรือลักษณะนั้นขึ้นอยู่กับผู้ผลิตเป็นเครื่องมือสำหรับกรอด้ายหรือกวักด้ายจากระวิวเข้ามาม้วนเก็บไว้ให้เป็นระเบียบเพื่อนำไปทอผ้าต่อไป ขนาดของที่เก็บด้ายนั้นยาว 32 เซนติเมตร สูง 20.9 เซนติเมตร กว้าง 21เซนติเมตร โดยมีนางไหล บุญเพิ่มพูน เป็นคนทำและมอบให้ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ มีอายุสะสมโดยประมาณ 100 ปี


เดินกะลา


การเดินกะลานั้นเป็นการละเล่นที่นิยมมากของเด็กในอดีต เพราะกะลานั้นเป็นของเล่นที่หาง่ายมีอยู่ทั่วไป การเดินบนกะลานั้นผู้ที่เริ่มฝึกจะรู้สึกเจ็บเท้าเพราะความโค้งและความแข็งแรงของกะลาแต่ถ้าได้ฝึกฝนบ่อยๆอาการเจ็บจะหายไป ทั้งนี้กะลายังใช้ในการนวดผ่าเท้าได้อีกด้วยและยังฝึกเรื่องของการทรงตัวได้เป็นอย่างดี มีลักษณะเป็นกะลาสองอันสำหรับใช้เท้าคีบ มีเชือกสำหรับถือ โดย นาย อนันท์ บัวมะลิได้ทำขึ้นมาเองเพื่อใช้ในศูนย์การเรียนรู้


ที่วางกระบวย / ซองน้ำโบย (ภาษาไตลื้อ)


ที่วางกระบวย หรือภาษาไตลื้อเรียกว่า “ซองใส่น้ำโบย” เป็นภาชนะที่ใช้สำหรับวางกระบวย หรือน้ำโบย โดยจะตั้งอยู่คู่กับหม้อน้ำ ใช้สำหรับวางกระบวยหลังจากใช้งานเสร็จแล้ว ซองใส่น้ำโบยนี้เป็นสมบัติเดิมของร.ต.ท.อนันต์ บัวมะลิ มีอายุสะสมประมาณ 5 ปี อยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีขนาดความสูง 32.2 เซนติเมตร และกว้าง 28.2 เซนติเมตร


ที่คดข้าว / โกะข้าว


ที่คดข้าวชิ้นนี้ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ เดิมเป็นสมบัติของนายพรมมา บุญชุ่มใจ ผลิตจากไม้ชิ้นใหญ่ มีความกว้าง 48 เซนติเมตร สูง 68 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 24 เซนติเมตร ตรงกลางขุดเป็นรูปสี่เหลี่ยม เว้นจากขอบประมาณ 5 เซนติเมตร มีด้ามสั้นสำหรับจับ และมีการตกแต่งขัดเกลาให้ผิวเรียบ ภาชนะชิ้นนี้ใช้สำหรับคดข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ๆ เพื่อให้ไอน้ำและความร้อนออกจากข้าวก่อนนำไปใส่กระติ๊บข้าว ทั้งนี้ ไม่ควรนำที่คดข้าวไปผึ่งแดด เพราะจะทำให้เนื้อไม้แตกได้ง่าย


คันไถ / หงอน (ภาษาไทลื้อ)


คันไถ หรือหงอน ในภาษาไทลื้อ เดิมเป็นของนายพรหมา บุญชุ่มใจ มีขนาดความยาว 123 เซนติเมตร คันไถเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำการเกษตรโดยใช้ในการพรวนดินให้ร่วนซุย ลักษณะของหงอนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นด้ามจับ ส่วนที่ 2 เป็นที่สำหรับดันดิน และส่วนที่ 3 เป็นใบมีดใช้สำหรับปาดหน้าดิน


แค่ว / ตะแคว (ภาษาไตลื้อ)


แค่ว หรือตะแคว ในภาษาไทลื้อ มีลักษณะเด่น คือทำมาจากไม้ไผ่สานกันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ยึดเกี่ยวไว้ด้วยลวด มีเชือกสำหรับคล้องกับลวดทั้ง 4 มุมเพื่อเป็นที่แขวน ตะแควชิ้นนี้เดิมเป็นสมบัติของนายอนันต์ บัวมะลิ มีขนากความกว้าง 76 เซนติเมตร ความสูง 74 เซนติเมตร ตะแควใช้สำหรับตากอาหาร เช่น ปลา เป็นต้น


กระบวย / น้ำโบย (ภาษาไตลื้อ)


“กระบวย” หรือภาษาไทลื้อ เรียกว่า “น้ำโบย” จัดเก็บสะสมมาแล้วประมาณ 3 ปี ส่วนด้ามทำมาจากไม้ ส่วนหัวทำมาจากกะลามะพร้าว เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งนำมาใช้ในการตักน้ำดื่ม ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในหลองข้าวอุ๊ยติ๊บ โดยยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ขนาดของน้ำโบยมีความกว้าง 9 เซนติเมตร และความยาว 41 เซนติเมตร


กุ๋ง / หน้าไม้


“กุ๋ง” หรือ “หน้าไม้” ใช้สำหรับล่าสัตว์ กุ๋งมีลักษณะยาวประกอบด้วยไม้สองอันติดกันคล้ายรูไม้กางเขน มีสภาพชำรุดบริเวณส่วนกลาง ปัจจุบันมีอายุสะสมประมาณ 80 ปี มีขนาดความกว้าง 89 เซนติเมตร ยาว 54 เซนติเมตร และสูง 54 เซนติเมตร ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ภายในหลองข้าวอุ๊ยติ๊บ ภายในศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ


ครกตำข้าว / ครกมอง / มองตำข้าว (ภาษาไตลื้อ)


ครกตำข้าว หรือครกมองในภาษาไตลื้อ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตำข้าวในอดีต ลักษณะทำมาจากไม้ มีขนาดความยาว 341 เซนติเมตร ความกว้าง 67 เซนติเมตร ครกมองชิ้นนี้เดิมเป็นของนางจันทร์ติ๊บ บัวมะลิ ได้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ฯ มีอายุการสะสมประมาณ 100 ปี


แอ๊บหมาก


แอ๊บหมาก เครื่องเขินชนิดหนึ่งของชาวเหนือ แอ๊บหมากชิ้นนี้เดิมเป็นของนางคำ บัวมะลิ ได้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ฯ แอ๊บหมากทำมาจากไม้ไผ่ ผ่านขั้นตอนการขนสานขึ้นรูปร่างเป็นทรงกลม ชาวเหนือจะเรียกว่าคัวฮัก เพราะเครื่องเขินเป็นเหมือนคัวฮักคัวหวงของชาวเหนือ แอ๊บหมากชิ้นนี้มีขนดความสูง 9.3 เซนติเมตร ความกว้าง 21.5 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10.75 เซนติเมตร


ลูกคิดเล็ก


เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านในจะแบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนบน ส่วนล่างและมีไม้เป็นซี่อยู่พร้อมลูกคิด


แมวขุดมะพร้าวเล็ก


ทำจากไม้ ตัวยาวมีขาหน้าหลัง ปากทำด้วยโลหะเป็นของมีคม ตัวของแมวขูดใช้สำหรับนั่งนั่งขูดมะพร้าว


ผากโค๊ะ


เป็นท่อนยาวมีขอคล้ายจอบแบนตรงหัวไม้ เป็นไม้สีน้ำตาล


แมวขุดมะพร้าวใหญ่


ทำจากไม้ ตัวยาวมีขาหน้าหลัง ปากทำด้วยโลหะเป็นของมีคม ตัวของแมวขูดใช้สำหรับนั่งนั่งขูดมะพร้าว


เครื่องปั่นฝ้าย


ไม้ขึ้นโครงสร้างมีด้ามหมุนหนีบตัวเม็ดฝ้ายออก


ไม้สางใบคา


เหมือนจอบแต่มีฟันเป็นซี่ๆ


ไม้หนีบข้าว


เป็นไม้ ๒ ท่อน ยาวเท่ากันเจาะรูทั้ง ๒ แล้วร้อยเชือกเข้าหากัน