ฝักกระเป๋า กระเป๋าคาดเอวผู้ชายใช้ในการใส่ของหรือเป็นเครื่องตกแต่ง
กุบ ที่ใส่บนศรีษะของคนที่ทำ"พิธีเสนโต" มีจังหวะที่จะทำให้ลูกหลานแสดงความรักโดยใช้ธนบัตรไปเสียบผ้าผูกรอบ นิยมให้แบงค์ ๒o เพราะเป็นสีเขียว ไม่ใช้แบงค์ ๑oo เพราะเป็นสีแดง ตามความเชื่อ
ชุดไปไร่ไปนา
ชุดลูกเขยที่ใส่ในงานพิธีกรรมเสนเรือน จะใช้เสื้อฮี คล้องคอ
ชุดสุภาพของสตรีไทยทรงดำ จะใส่เสื้อก้อม นุ่งผ้าซิ่น
ชุดลูกสะใภ้ แต่งชุดนี้ในพิธีกรรมเสนเรือน จะใช้เสื้อฮีด้านที่มีลายสวยงามออกมา "ฮางนม" (พันหน้าอกไว้) เวลาแขกมาร่วมในพิธีกรรมเสนเรือนก็จะเรียกใช้ ลูกสะใภ้ในบ้านได้
ชุดเจ้าบ่าว ประกอบด้วยเสื้อฮี หมวกสาน ย่ามแดง ฝักมีด
เจ้าสาวที่แต่งงานกับพ่อหม้าย แต่งกายเหมือนกับเจ้าทั่วไปยกเว้น การใส่เสื้อฮีกลับด้านหน้าไปไว้ด้านหลัง นอกนั้น ตั่ง ฟืม เขา แอ๊บข้าว บั้งน้ำ น้ำเต้า ก็เหมือนเจ้าสาวโดยทั่วไป ทั้นี้เป็นการเคารพผีอดีตภรรยาของเจ้าบ่าวไม่ให้มารบกวนกีดขวางทางรัก
ชุดแช่งแม่ผัว นุ่งให้ผิดไปจากธรรมชาติ กับตีนซิ่นขึ้นมาด้านบนแทนหัวซิ่น เพื่อให้แม่สามีหรือญาติ เกิดความตระหนักว่าได้ล่วงเกินอะไรกับผู้เป็นสะใภ้ ตั้งชื่อให้น่ากลัว แต่ไม่ใช่การสาปแช่ง
ชุดแม่มด ผู้ประกอบพิธีกรรมเสนแก้เคราะห์ ประกอบด้วย หัวมดสวมบนศรีษะ และมีเสื้อฮีจะเอาลายสวยงามออกพาดไหล่ซ้าย
เสื้อไม่ติดกระดุมพลาสติก ใส่ง่ายไม่ต้องเรียบร้อยมาก มีผ้าสไบคล้องคอ และผ้าเปลียวไว้สำหรับโพกศีรษะ
ผ้าที่อาจารย์นำมาเสนอนี้ เป็นเฉพาะตัวซิ่นครับ ชาวไทดำ/ไทยทรงดำ/ลาวโซ่ง ในสมัยก่อนจะมีการแบ่ง แยกซิ่นที่เป็นมัดหมี่แบบ เป็นสองอย่างคือ ซิ่นที่ทอด้วยเทคนิคมัดหมี่ สีดำ(อาจจะออกสีกลมหรือครามและครามเขียว)และสีแดง มีสีขั้นลายเช่น แดงขาวเหลืองส้มเขียวดำ ใ
ย่ามขาว สำหรับไว้สะพายไปไร่ไปนา
หมวกมู้เด็กหญิง มักใช้กับเด็กอายุประมาณ 9 เดือนขึ้นไปเพื่อกันแดด กันความหนาว และน้ำค้าง
หมอน แส่วลายหลังคา ปักลวดลายด้วยมือ
หมอน แส่วลายแก่นแตง
หมอนลายดอกบานไม่รู้จบหรือดอกปิปี้
หมอนลายดอกพรม
หมอนลายดอกพิกุล(เอื้อ) ปักด้วยมือ
หมอนลายดอกแปด หมายถึงแถนแปดองค์ ตัดผ้าสามเหลี่ยมแปดชิ้นมาเย็บรวมกันลายนี้ยากที่สุด ทำไม่เก่งตรงจุดรวมของผ้าจะย่น เป็นลายพื้นฐานลายแรกที่หัดทำลายหน้าหมอน
หมอน (แส่ว)ลายตีนหมาญำแล้วลายหงอนนาค ปักด้วยมือ
หมอนลายดอกมะลิ
หมอนลายเบาะมะหง (ลายดอกมะละกอ)