แก้วกระจกโบราณ

แก้วกระจกโบราณ ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณเสาด้านหน้าวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะชิ้นส่วนกระจกแก้ว จำนวน 6 ชิ้น แต่ละชิ้นมีขนาดต่างกันไป โดยจะใช้ปูนในการยึดติดแต่ละชิ้นส่วน โดย 2 ชิ้นกลางแตกต่อกันไว้ มีสีเขียวทึบ ลักษณะ 4 ชิ้น ด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ลักษณะคล้ายกลีบบัวหรือลายกระจัง มีสีเขียวทึบ 2 ชิ้น และสีแดงทึบ 2 ชิ้น ขนาด ชิ้นที่ 1) ก. 3.2 ซม. ย. 10.7 ซม. น. 0.2 ชิ้นที่ 2) ก. 2.9 ซม. ย. 8.9 ซม. น. 0.2 ชิ้นที่ 3) ก. 3.4 ซม. ย. 16.7 ซม. น. 0.2 ชิ้นที่ 4) ก. 3.3 ซม. ย. 16.3 ซม. น. 0.2 ชิ้นที่ 5) ก. 33 ซม. ย. 8.3 ซม. น. 0.2 และชิ้นที่ 6) ก. 3.1 ซม. ย. 10.5 ซม. น. 0.2 ซึ่งกระจกแก้วเป็นกระจกที่มีความหนา มีสีสันสดใสหลายหลากสี มีกรรมวิธีการผลิตคือหุงด้วยทรายแก้วซึ่งเป็นทรายเนื้อละเอียดโดยผสมน้ำยาสีต่างๆ ตามที่ต้องการลงไป ด้านหลังอาบด้วยปรอทเคลือบน้ำยาเคมี แต่ไม่สามารถโค้งงอได้ ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ขนาด

ขนาด : 1) ก. 3.2 ซม. ย. 10.7 ซม. น. 0.2 2) ก. 2.9 ซม. ย. 8.9 ซม. น. 0.2 3) ก. 3.4 ซม. ย. 16.7 ซม. น. 0.2 4) ก. 3.3 ซม. ย. 16.3 ซม. น. 0.2 5) ก. 33 ซม. ย. 8.3 ซม. น. 0.2 6) ก. 3.1 ซม. ย. 10.5 ซม. น. 0.2 / ลักษณะทางกายภาพ : ลักษณะชิ้นส่วนกระจกแก้ว จำนวน 6 ชิ้น แต่ละชิ้นมีขนาดต่างกันไป โดยจะใช้ปูนในการยึดติดแต่ละชิ้นส่วน โดย 2 ชิ้นกลางแตกต่อกันไว้ มีสีเขียวทึบ ลักษณะ 4 ชิ้น ด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ลักษณะคล้ายกลีบบัวหรือลายกระจัง มีสีเขียวทึบ 2 ชิ้น และสีแดงทึบ 2 ชิ้น

ชื่อเจ้าของ

วัดมงคลทุ่งแป้ง

ประวัติเจ้าของ

ไม่ทราบ

ประวัติวัตถุจัดแสดง

ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณเสาด้านหน้าวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ช่วงเวลาการสะสม

ไม่ทราบช่วงเวลาแน่ชัด