เต้าปูนกินหมาก

เต้าปูนกินหมาก เป็นภาชะใส่ปูนกินหมาก ซึ่งการกินหมาก ถือเป็นวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทยมาเป็นเวลานาน จึงมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ประเพณี และเป็นสัญลักษณ์แทนคุณค่าต่างๆ ในวัฒนธรรมไทย ในแง่ต่างๆ เต้าปูนเป็นเครื่องเชี่ยนที่มาพร้อมๆ กับการกินหมากที่คนไทยรับแบบอย่างมาจากอินเดีย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเพราะได้พบเต้าปูนทองเหลืองที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกับเต้าปูนในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเต้าปูนเป็นหัตถกรรมที่คนไทยทำขึ้นมาใช้เป็นเวลานานหลายร้อยปีแล้ว เต้าปูนกินหมากชิ้นนี้ มีขนาด ฐานกว้าง 3.5 เซนติเมตร สูงพร้อมฝา 12.5 เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน 7 เซนติเมตร ทำจากทองเหลือง มีสีดำติดอยู่บางส่วน ลักษณะจะมีสองส่วนคือ ตัวเต้าปูน สำหรับใส่ปูน และฝาสำหรับปิด ฝาเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 ชั้น คล้ายบัวถลา ไม่ทราบช่วงเวลาแน่ชัด สำหรับประวัติเต้าปูนกินหมากพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้พบเข้า จึงได้เก็บรักษา และได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ขนาด

ขนาด : ฐก. 3.5 ซม. สฝ. 12.5 ซม. สฐ. 7 ซม. / ลักษณะทางกายภาพ : ทำจากทองเหลือง มีสีดำติดอยู่บางส่วน จะมีสองส่วนคือ ตัวเต้าปูน สำหรับใส่ปูน และฝาสำหรับปิด ฝาเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 ชั้น คล้ายบัวถลา

ชื่อเจ้าของ

วัดมงคลทุ่งแป้ง

ประวัติเจ้าของ

ไม่ทราบ

ประวัติวัตถุจัดแสดง

พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้พบเข้า จึงได้เก็บรักษา และได้นำมาจัดแสดง

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

ไม่ทราบ

ช่วงเวลาการสะสม

ไม่ทราบช่วงเวลาแน่ชัด