แหวนแก้วโป่งข่ามสมัยโบราณ

แหวนแก้วโป่งข่ามสมัยโบราณ ขนาดหัวแหวน เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เซนติเมตร ตัวแหวน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เซนติเมตร ลักษณะตัวแหวนทำจากทองเหลือง ลักษณะกลมเกือบรี หัวแหวนทำจากแก้วโป่งข่าม (ควอซต์) ประเภทแก้วแร่ หรือแร่เขี้ยวหนุมาน ใช้สวมใส่เพื่อเป็นเครื่องรางนำโชคของคนล้านนาเชื่อว่า ช่วยปกป้องรักษาคุ้มภัย ส่งเสริมให้ครอบครัวร่มเย็นเป็นสุข ส่งเสริมการทำมาค้าขาย ซึ่งแก้วโป่งข่ามเป็นหินแก้วตระกูลแร่ควอทซ์ (Quartz) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแร่เขี้ยวหนุมาน โดยตามมาตรความแข็งของโมส์ (Moh’s scale of hardness) ควอทซ์มีค่าความแข็งอยู่ในอันดับที่ 7 (ความแข็งมี 10 อันดับ เพชร แข็งที่สุด คืออันดับ 10) โดยลักษณะของควอทซ์จะมีความโปร่งใส ไปจนถึงทึบแสง และมีหลายสี ควอทซ์จึงจัดเป็นรัตนชาติตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่ง และหลายพื้นที่ในประเทศไทยพบควอทซ์หลายชนิด แต่ชนิดที่นำมาทำแก้วโป่งข่ามนั้น พบมากที่ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง แก้ว ตามความหมายโดยทั่วไป หมายถึง หินใสแลลอดเข้าไปข้างในได้ โป่ง หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่พองด้วยลม หรือแก๊ส เช่น ดินโป่ง (ดินที่มีเกลือ) เป็นต้น ข่าม เป็นภาษาถิ่น หมายถึง อยู่ยงคงกระพัน แก้วโป่งข่าม จึงมีความหมาย คือ หินใสที่มองเล็ดลอดเข้าไปข้างในและมีความอยู่ยงคงกระพัน โดยเกิดจากการผุดขึ้นมาจากช่องดิน สำหรับประวัติวัตถุชิ้นนี้ เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งไม่ทราบว่าองค์ใด ได้พบแหวนแก้วโป่งข่ามชิ้นนี้ในบริเวณของวัด และเห็นว่าเป็นแก้วโป่งข่ามที่หาได้ยากในปัจจุบัน จึงได้เก็บรักษาไว้ ภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ขนาด

ขนาด หัวแหวน ศก. 0.7 ซม. ตัวแหวน ศก. 1.8 ซม. / ลักษณะทางกายภาพ : ตัวแหวนทำจากทองเหลือง ลักษณะกลมเกือบรี หัวแหวนทำจากแก้วโป่งข่าม (ควอซต์) ประเภทแก้วแร่ หรือแร่เขี้ยวหนุมาน

ชื่อเจ้าของ

วัดมงคลทุ่งแป้ง

ประวัติเจ้าของ

ไม่ทราบ

ประวัติวัตถุจัดแสดง

เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งไม่ทราบว่าองค์ใด ได้พบแหวนแก้วโป่งข่ามชิ้นนี้ในบริเวณของวัด และเห็นว่าเป็นแก้วโป่งข่ามที่หาได้ยากในปัจจุบัน จึงได้เก็บรักษาไว้ ภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้นำมาจัดแสดง

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ช่วงเวลาการสะสม

ไม่ทราบช่วงเวลาแน่ชัด