คนโท น้ำต้น


น้ำต้น หรือคนโท เป็นภาชนะใส่น้ำรูปทรงคล้ายน้ำเต้า มีฐานแบนสำหรับวาง ทำจากดินเผา ประดับตกแต่งลวดลายโดยรอบ ศิลปะไทใหญ่ ใช้สำหรับใส่น้ำดื่ม ต้อนรับแขก ทั้งเป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรมของชาวล้านนา เนื่องจากเป็นงานผลิตจากช่างชาวไทใหญ่หรือชาวเงี้ยวในภาษาล้านนา ชาวล้านนาจึงเรียกน้ำต้นรูปแบบนี้ว่า น้ำต้นเงี้ยว


พวงเครื่องปรุง


พวงเครื่องปรุง สำหรับใช้ใส่เครื่องปรุง ในร้านอาหาร โดยเฉพาะร้านก๋วยเตี๋ยว หรือใช้ในครัวเรือน ทำจากโลหะ ฐานสี่เหลี่ยม มีหูหิ้วเป็นก้านโลหะแข็งอยู่ตรงกลาง มีห่วงสำหรับจำ ขอบเป็นลวดยกสูง แบ่งเป็นสี่ช่อง สำหรับใส่แก้วหรือขวดเครื่องปรุง โดยทั่วไปที่พบใช้งาน จะนำไปใส่ น้ำตาล น้ำปลา พริก และน้ำส้มสายชู


เครื่องกรองน้ำดื่ม


เครื่องกรองน้ำดื่มเครื่องนี้ เป็นแบบที่ใช้กันในอดีต สำหรับกรองน้ำดื่มในครัวเรือน และสามารถทำความเย็นได้วัสดุทำจากดินเผาสีขาวเผาเคลือบผิวมัน ทรงกระบอก มีหูจับสองข้าง มีก๊อกอยู่ด้านหน้าล่างสุดสำหรับเปิดน้ำ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 22 เซนติเมตร สูง 54 เซนติเมตร


ลำโพง


ลำโพง สำหรับใช้เพื่อขยายเสียงต่างๆ ทั้งกระจายข่าว และเพลง เป็นรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง โครงทำด้วยไม้สีน้ำตาล ด้านหน้าดอกลำโพงปิดทับด้วยใยสังเคราะห์สีน้ำตาลอ่อน มีแผ่นป้ายประทับตัวอักษรภาษาอังกฤษว่า OTTO


ชาม


เป็นถ้วยสำหรับใส่อาหาร มีฝาปิด มีขนาดสูง 10 เซนติเมตร กว้าง 13.5 เซนติเมตร สภาพสมบูรณ์


เรือสำเภาไม้


เราสำเภาจำลอง เป็นเรือขนาดเล็ก สำหรับสะสม ตั้งประดับตกแต่งบ้าน ทำด้วยไม้ทั้งลำ วางอยู่บนแท่นรองรับสองขา มีใบเรือสองใบ เรือสำเภาเป็นสัญลักษณ์แทนการค้าและความมั่งคั่ง บางคนจึงสะสมเพื่อประดับบารมีหรือใช้เป็นของขวัญมอบให้กันในโอกาสพิเศษเป็นของที่ระลึก เรือลำนี้มีขนาดความกว้าง 7 เซนติเมตร ยาว 24 เซนติเมตร สูง 28 เซนติเมตร


กาน้ำ


กาน้ำร้อนใบนี้เป็นศิลปะจีน เนื่องจากเป็นภาชนะดินเผาเนื้อขาวเคลือบผิวมัน ทำลวดลายเป็นสีน้ำเงินโดยรอบ ซึ่งเรียกว่า ลายคราม รูปทรงกระบอก พวยกาโค้ง ปากตัดเฉียง มีฝาปิด ด้วยความที่เป็นดินเผาเคลือบ จึงเก็บอุณหภูมิได้ดี จึงนิยมนำมาใส่ชา ทำให้ร้อนนาน สามารถนำออกรับแขกได้


ปิ่นโต


ปิ่นโต เป็นภาชนะบรรจุอาหารสำหรับออกไปข้างนอกบ้าน สามารถบรรจุอาหารได้ครั้งละหลายอย่าง ตามจำนวนเถาหรือชั้น ซึ่งเป็นโลหะรูปทรงกระบอก สามารถเรียงซ้อนกันได้พอดี มีโครงโลหะยึดไว้ เรียกว่า ขาร้อย ด้านบนสุดทำเป็นหูหิ้ว ชิ้นนี้มีสี่เถา รูปทรงกระบอก ทำจากโลหะเคลือบสีน้ำเงิน มีสภาพสมบูรณ์


เตหน่า


เตหน่า เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดของชาวปะกาเกอะญอ รูปร่างคล้ายพิณคอหงส์ของพม่า ลำตัวหรือกล่องเสียทำจากไม้ขุดคล้ายเรือ หุ้มโลหะที่กล่องเสียงให้เสียงกังวาน ตรงกลางแผ่นทองเหลืองทำเป็นสันสำหรับมัดลายลวด คอทำขึ้นสูงและยาวเพื่อขึงสาย เวลาเล่นได้ทั้งนั่งและยืนเล่น เนื่องจากมีขนาดเล็ก มักบรรเลงไปพร้อมกับขับขานเสียงเพลง


ดาบจำลอง


ดาบจำลอง เป็นดาบที่ไม่ได้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในการสงครามหรือป้องกันตัว แต่ใช้ในพิธีกรรมอย่างเลี้ยงผี แก้บน หรือใช้ประดับบ้านเสริมบารมี เนื่องจากเป็นดาบที่ถูกผลิตขึ้นในยุคหลัง ไม่ได้รบกันด้วยดาบอีกแล้วใบดาบจึงเป็นเพียงเหล็กแผ่นบางๆ มีคมเดียว ด้ามเป็นไม้กลึง ฝีกทำจากไม้แกะสลักสวยงาม มีเขี่ยวหรือเครื่องป้องกันมือทำจากโลหะ


ซิ่นตีนจก


ซิ่นตีนจก เป็นผ้าซิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนในล้านนา หรือภาคเหนือของประเทศไทย มีส่วนประกอบสามส่วนคือ หัวซิ่นหรือเอวซิ่น เป็นส่วนทีอยู่บนสุด ตัวซิ่น เป็นส่วนที่เป็นสีพื้น มีลายขวาง ลายขวางเหล่านี้เรียกว่า ตาซิ่น และส่วนล่างสุดคือตีนซิ่น เป็นลวดลายที่เกิดจากกรรมวิธี “จก” จึงเป็นที่มาของชื่อว่า “ซิ่นตีนจก” โดยซิ่นตีนจกในล้านนาในอดีต มีอยู่หลายแหล่งทอ โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอทางใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปเกือบหมด


หนังตะลุง


ตะลุง เป็นศิลปะการแสดงเชิดหนังภาคใต้ของประเทศไทย ตลอดจนแหลมมลายู และหมู่เกาะทั้งหลาย โดยใช้แผ่นหนังสัตว์ตากแห่งมาแกะสลักเป็นรูปร่างของคน สัตว์ หรือตัวละครที่จะใช้แสด ตกแต่งให้สวยงาม ใช้เชิดหลังฉากผ้าขาว โดยส่งไผมาจากหลังฉาก เพื่อให้เงาของตัวหนังทอดไปบนฉากผ้า ผู้ที่จะเชิดหุ่นหนังตะลุงได้นั้นต้องเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาและถ่ายทอดวิชามามากในระดับหนึ่ง เนื่องจากชาวใต้มีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับหนังตะลุง


ชฎา


ชฎา คือเครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ มียอดแหลม มีกรรเจียกหรือกระหนกข้างหู ประดิษฐ์ขึ้นด้วยโลหะ หรือวัสดุทดแทนอื่นๆ เช่น พลาสติก อลูมิเนียม ประดับลวดลายโลหะฉลุ ประดับ อัญมณี กระจกสี ชฎาถือเป็นของสูงอย่างหนึ่งในการแสดงนาฏศิลป์ไทย และนาฏศิลป์ภาคใต้อย่างโนราห์ ผู้สวมใส่ต้องมีครูบาอาจารย์ หรือมีวิชามามากพอ จึงสามารถสวมชฎาเพื่อเล่นละครได้ เนื่องจากมีกฎข้อบังคับและความเชื่อมากมายเกี่ยวกับชฎา


ถ้วย


ถ้วยดินเผาเนื้อสีขาวเกลี้ยง ฐานกลม ปากกลม แต่ขอบปากแตกไปบางส่วน ได้จากแหล่งเตาเผา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ 19 – 20 หรือประมาณ 600 – 700 ปีมาแล้ว ในอดีต ถ้วยถือเป็นภาชนะสารพัดประโยชน์ สามารถใส่ข้าว ใส่แกง ใส่น้ำดื่ม หรือแม้กระทั้งใช้เป็นหน่วยวัดตวง


แจกันดินเผา


แจกันดินเผา เนื้อสีเทา เป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดที่นำมาปั้นขึ้นรูปและผ่านการเผาจนมีเนื้อแกร่ง สามารถอุ้มน้ำได้ดี มีความทนทานสูง ใช้หรับใส่ดอกไม้ประดับตกแต่งบ้าน


ตะกร้า (ไม้ไผ่)


ตะกร้าใบนี้ ทำจากไม้ไผ่นำมาจักเป็นเส้นขนาดเล็ก แล้วสานขึ้นเป็นรูปทรงครึ่งวงกลม แต่พื้นแบนราบสำหรับวาง มีหูหิ้วทำจากหวายวงโค้งรูปครึ่งวงกลม ใช้สำหรับใส่สิ่งของขนาดเล็กๆ


กระต่ายขูดมะพร้าว


กระต่ายขูดมะพร้าวเป็นเครื่องมือในครัวอย่างหนึ่ง ใช้สำหรับขูดเนื้อมะพร้าวออกจากกะลา ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีส่วนประกอบสองส่วน ส่วนล่างเป็นฐานวาง ส่วนบนเป็นไม้แผ่นยาว ตรงปลายติดเหล็กปลายแหลมคมเป็นซี่ขนาดเล็กสำหรับขูดเนื้อมะพร้าว เวลาใช้จะนั่งอยู่บนกระต่าย ใช้แรงกดจากไหล่เพื่อขูดเนื้อมะพร้าว


เสื้อยันต์


เสื้อยันต์ เป็นเครื่องรางของขลังของเหล่าทหารในอดีต สำหรับเสื้อเมื่อต้องออกศึกสงคราม เชื่อว่าให้อิทธิฤทธิ์ด้านคงกระพันชาตรี ฟันแทงไม่เข้า มีอำนาจข่มขวัญศัตรู เสื้อยันต์ผืนนี้ทำจากผ้าฝ้าย เป็นรูปทรงเสื้อแขนกุด บนเนื้อผ้าลงอักขระเลขยันต์ไว้หลายรูปแบบตามความเชื่อ หรือตามแต่ครูบาอาจารย์ได้ถ่ายทอดมา


ซิ่นไหมคำ


ซิ่นไหมคำ หรือซิ่นบัวคำ เป็นผ้าซิ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอจากเส้นไหม บ้างก็ทอจากเส้นทองคำ ตีนซิ่นมีลวดลายเป็นดอกบัวคว่ำบัวหงาย เป็นรูปแบบของชาวไทเขิน เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า และยังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มราชสำนัก ตลอดจนผู้สะสมผ้า เนื่องจากถูกจัดให้เป็นหนึ่งในกลุ่มผ้านางพญาซิ่นล้านนา หากเป็นของราชสำนักจะทอด้วยเส้นเงินหรือทองคำ ปักลายด้วยเพชรพลอยและทองคำ แต่ถ้าเป็นชาวบ้านจะใช้เพียงไหมหรือฝ้ายธรรมดา


ทัพพี


ทัพพีทองเหลือง เป็นภาชนะสำหรับตักอาหาร หรือข้าวหุงมีรูปร่างคล้ายช้อน แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ทำจากทองเหลืองทั้งชิ้น ผิวเกลี้ยงไม่มีลวดลาย


บูยา (โลหะ)


บูยา หรือไปป์สูบยาของชาวล้านนา นิยมทำจากดินเผาและโลหะ บูยาชิ้นนี้ทำจากโลหะ หัวบูยาเป็นรูปช้าง ก้านสูบมีความยาว โค้งเป็นรูปคล้ายเกือกม้า มีลวดลายเดินลวดเงินเป็นระยะตลอดความยาวก้าน ใช้สูบยาเส้น เมื่อจะสูบยาเส้นจากบูยาประเภทนี้ จะใส่น้ำเข้าทางหัวช้างพอประมาณ แล้วยัดยาเส้นเข้าที่เบ้าตรงหัวช้าง แล้วจุดสูบ เรียกว่า การสูบผ่านน้ำ


ถาด(ถาดเปล)


ถาดเปลเนื้อเงิน เป็นถาดสำหรับใส่ของที่มีน้ำหนักไม่มาก พื้นเรียบ ยกขอบไม่สูงมาก มีหูหิ้วโค้งครึ่งวงกลมสำหรับจับถือ เนื่องจากมีความสวยงามมาก และทำด้วยเนื้อเงิน จึงนิยมใช้สำหรับวางประดับตกแต่งบ้าน มากกว่านำไปใช้งานจริง


บูยา (ดินเผา)


บูยา เป็นอุปกรณ์สำหรับสูบยาเส้นในสมัยอดีต ทำจากดินปั้นเป็นรูปทรงแล้วไปเผาให้เนื้อแกร่ง เบ้ายาลึกพอประมาณ ภายนอกปั้นเป็นรูปหัวช้าง มีเบ้ายาอยู่บนหัวช้าง ก้านสูบมีลวดลาย เมื่อจะสูบต้องต่อด้ามไม้ให้ยาวออกไปอีก เพื่อป้องกันความร้อนและควันเข้าตา โดยภาพรวมมีรูปร่างคล้ายไปป์ของตะวันตก


มีดตัดหวายลูกนิมิต


มีดตัดหวายลูกนิมิต เป็นมีดที่ใช้ในพิธีกรรมสำหรับตัดหวายลูกนิมิต ด้าม ฝัก และแท่นวาง ทำจากไม้เนื้อแข็ง ลงยางรัก ประดับเปลือกหอยมุกเป็นลวดลายดอกไม้ เรียกว่า ลายประดับมุก ใบทำจากเหล็ก ลงอักขระด้วยการตอกลายไว้ตลอดความยาวใบมีด เชื่อกันว่าเป็นมีดสำหรับคนมีวิชาอาคมหรือพระเท่านั้น ที่สามารถใช้มีดเล่นนี้ในพิธีกรรมต่างๆได้


ตาชั่ง


ตาชั่ง ใช้สำหรับชั่งน้ำหนักสิ่งของ ตาชั่งประเภทนี้นิยมใช้กันในตลาด เนื่องจากใช้ชั่งน้ำหนักสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ไม่มาก ทำจากโลหะเป็นส่วนใหญ่ หน้าปัดกลมสภาพชำรุด ได้รับบริจาคจากคุณเอก นิมสุวรรณ


ขันเงิน


ขันเงินรูปทรงบานมีหูสำหรับหิ้วผลิตขึ้นจากเงินตอกด้วยลวดลายเครื่องเถาร์ไม่มีรอยบุบหรือรอยรั่วสภาพแข็งแรงสมบรูณ์ นิยมใช้ใส่ของหรือของมงคลต่างๆ


ขวดน้ำหอม


ขวดน้ำหอมใช้บรรจุน้ำหอม เมื่อใช้น้ำหอมหมด ขวดจึงกลายเป็นของสะสมต่อไป ชิ้นนี้ได้รับบริจาคจากคุณวินัย เบน เป็นขวดแก้วเนื้อหนาสีหม่น มีลวดเหล็กขัดกันไปมาคล้ายตาข่ายหุ้มอยู่โดยรอบขวดลวดเริ่มขึ้นสนิม และไม่มีฝาปิด


พาน


พานทำจากพลาสติก มีส่วนประกอบสามส่วน ส่วนฐานทำลวดลายสวยงามโดยรอบ ส่วนคอเล็ก ส่วนปากเว้าลึก มีลวดลายโดยรอบ ขอบปากเป็นหยักคล้ายฟันปลาหรือกลีบบัวใช้สำหรับวางของถวายพระ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน หรืออาหารถวายพระ


ถาด


ถาด เป็นภาชนะสำหรับใส่ของจำนวนมากๆ ทำด้วยโลหะ พื้นฐานด้านในเขียนลวดลายดอกไม้ตกแต่งเพื่อความสวยงาม มีลักษณะเป็นวงกลม บ้างก็ทำเป็นสี่เหลี่ยม ในวัฒนธรรมชาวล้านนา เวลานำอาหารมารับแขก จะนำจานหรือถ้วยอาหารใส่ถาดยกมาร่วมรับประทานด้วยกัน


ผ้ากำปี หรือ ผ้าหอธรรม (รูปกินรี)


เป็นผ้าที่เย็บปักด้วยมือ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมตกแต่งรวดรายเป็นรูปกินรีอยู่ภายในป่าไม้ ประดับตกแต่งเป็นลวดลายไทย


ปล่องสูบยา


มีหลุมเอาไว้ใส่ยาสูบ และมีด้ามสูบยื่นออกมาเพื่อเอาไว้ต่อกับไม่สูบ


ตะเกียงไม้จีน


ทำมาจากไม้เป็นทรงกระบอกข้างในเป็นกระจกโดยมีไม้ครอบอยู่ด้านนอก


ตะเกียงเจ้าพายุ


ไส้ของตะเกียง มีลักษณะโปร่ง มาจากยุโรป ตัวฐานของตะเกียงมีลักษณะเป็นวงกลมและช่วงตัวของตะเกียงเป็นเหล็กมีลักษณะเป็นปล้องต่อกันขึ้นไปบนสุดก็จะเป็นกระจกบรรจุไส้ของตะเกียง


ปิ่นโต


ทำมาจากเหล็กสังกะสีซ้อนกัน 4 ชั้น เป็นทรงกระบอกชั้นบนมีฝาปิดและมีหูที่ทำจากเหล็กสำหรับถือ


เครื่องโม่ข้าวโม่แป้ง


ทำจากหินมีลักษณะเป็นวงลมซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นล่างจะเป็นวงกลมแบบราบส่วนชั้นบนมีลักษณะเป็นทรงกระบอกและมีคันสำหรับโม่ติด


แมวขูดมะพร้าว


ลักษณะเป็นไม้แกะสลักเป็นทรงกระบอก ตรงหัวของแมวขูดมะพร้าวมีเหล็กยื่นออกมาหัวแบบวงกลมใช้สำหรับขูดเอาเนื้อมะพร้าวออก


ลูกคิด


ทำมาจากไม้เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีก้านไม้สำหรับเสียบตัวลูกคิดไว้ เม็ดลูกคิดทำจากไม้เป็นวงกลมเม็ดเล็กๆ


กาดินเผา


มีลักษณะกลมใหญ่ หูจับและปากกาเทน้ำแตกหัก เนื้อดินหยาบ มีสีน้ำตาลอ่อน


จานเคลือบ


มีขนาดปานกลาง ปากจานกว้างเนื้อวัตถุมีการเคลือบเงา เนื้อวัตถุมีสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน ปากจานชำรุดเล็กน้อย


ไหเคลือบขนาดเล็ก


มีขนาดเล็ก ปากไหเกิดการชำรุดแตกหัก เนื้อวัตถุมีการขัดเงา เนื้อวัตถุมีสีน้ำตาลอมเขียว


ถ้วยซ้อน


จานทั้ง 3 มีขนาดเล็กทับซ้อนกัน จานทั้ง 3 เกิดการชำรุดทั้ง 3ใบ เนื้อวัตถุหยาบขรุขระ วัตถุมีสีน้ำตาลอมเขียมอ่อนเคลือบเงา


แจกัน


สูงโปร่งปากแจกันชำรุด เนื้อผิวขัดเงา วัตถุมีสีน้ำตาลอมเขียวอ่อน


ขวดใส่หมึก


มีลักษณะสูง มีน้ำหนักมากเพราะทำมาจากดินเผา ปากขวดมีขนาดเล็ก มีหูจับ มีการเคลือบเงาวัตถุมีสีน้ำตาลอมเขียว


ที่สูบยา


มีหลุมเอาไว้ใส่ยาสูบ และมีด้ามสูบยื่นออกมาเพื่อเอาไว้ต่อกับไม่สูบ ปั้นเป็นลวดลายของหัวช้าง


กระปุก


วัตถุมีขนาดเล็ก ปลานปากแตกหัก และหูจับหักหนึ่งข้าง วัตถุมีการเคลือบเงา มีสีน้ำตาลอมเขียวและมีการตกแต่งลวดลาย


กระปุกดินเคลือบ


วัตถุมีขนาดเล็ก บริเวณปากวัตถุเกิดการชำรุด รูปทรงเล็กปล่อง มีหูจับ เนื้อวัตถุมีลักษณะหยาบ สีวัตถุมีสีน้ำตาลอมเขียวอ่อนมีการเคลือบเงา


กระเป๋าใส่ผ้า


ทำจากไม้สานกันมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีหูจับด้านบน 2 ข้าง


เงินยวน (สกุลเงิน สาธารณรัฐประชาชนจีน)


เป็นเหรียนวงกลม ตรงกลางมีช่อง สี่เหลี่ยม มีตัวอักษรภาษาจีนอยู่ในตัวเหรียญ ผูกติดกันด้วยเส้นลวดเงิน