ฟังเรื่องเล่าชาติพันธุ์ไทครั่ง เส้นทางอพยพและตั้งถิ่นฐาน


0

เมื่อเราได้ข้ามฝั่งแม่น้ำยมจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มายังฝั่งขวาของแม่น้ำยม เราเจอบ้านเกาะน้อย ซึ่งอยู่พื้นที่ตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ไทยครั่ง หรือลาวครั่ง ในชุดแต่งกายประจำของชาติพันธุ์ที่มีสีแดงสดที่ทำจาก ครั่งซึ่งชาติพันธุ์แต่เดิมไม่ได้เป็นพื้นถิ่นในอำเภอหนองอ้อ หากแต่มีการอพยพย้ายถิ่นมานานนับร้อยปี


1

เมื่อลาวครั่งต้องโยกย้าย...จนกลายไปไทยครั่ง

ไทยครั่ง บ้านเกาะน้อย เป็นชุมชนที่สันนิฐานว่า แต่เดิมอาศัยอยู่ใน ภูคลัง ของพื้นที่หลวงพระบาง ของประเทศลาว และได้เข้ามาในพื้นที่ประเทศไทยตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อเข้ามาแล้วลาวครั่งก็มีการย้ายถิ่นในหลายพื้นที่อีกหลายครั้งในราบลุ่มภาคกลาง ซึ่งลาวครั่ง ได้มาตั้งถิ้นที่บ้านเกาะน้อย  เมื่อ พ.ศ. 2500 ซึ่งได้ย้ายถิ่นมาจากพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์

2

ชื่อ ไทยครั่ง อะไรครั่ง

ที่มาของชื่อ ไทยครั่ง ก็มีหลายข้อสันนิฐาน ข้อสันนิฐานแรก มาจากชื่อ ภูคลัง ถิ่นฐานดังเดิมของชาติพันธุ์อย่างที่กล่าวไป นอกจากนี้ ยังมีอีกข้อสันนิฐานว่ามาจาก เครื่องแต่งกายไทยครั่ง ที่โดดเด่นด้วยสีแดง ที่ทำจากแมลงชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ครั่ง นอกจากนี้ เมื่อเขามาในประเทศไทย ชาติพันธุ์นี้ ก็เปลี่ยนจากลาวครั่ง มเป็นไทยครั่ง ดังเช่นในปัจจุบันวว่า แต่เดิมชาติพันธุ์ อยู่ในพื้นที่ ซึ่งก็เป็นหนึ่งในข้อสันนิฐานว่า เป็นที่มาของชื่อ ซึ่งก็มีอีกข้อสันนิฐานว่ามาจาก เครื่องในปัจจุบันในยุคปัจจุบันนี้ชาติพันธุ์ลาวครั่ง ได้เปลี่ยนมาเป็น ไทยครั่ง ดังเช่นในปัจจุบัน

3

ไทยครั่ง บ้านเกาะน้อย

ปัจจุบันชาติพันธุ์ไทยครั่งบ้านเกาะน้อย แม้ย้ายมาจากถิ่นเดิมในประเทศลาว มานานกว่าร้อยปีแล้ว ยังคงมีการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของไทยครั่งเป็นอย่างดีชุมชนไทยครั่งเป็นแหล่ง สะสมของโบราณ เช่น ผ้าซิ่นโบราณ เครื่องสังคโลกโบราณ เป็นแหล่งรวบรวมวัฒนธรรม เช่น การทำดอกทานตะเวนในประเพณีแห่ธงที่จัดขึ้นในทุกๆ วันที่10 เมษายน ของทุก ๆ ปี ซึ่งจะแห่ธงที่ประดับด้วยดอกทานตะเวน  ซึ่งเราสามารถมาเยี่ยมเยือนชมชาวไทยครั่ง เพื่อฟังเรื่องราวของไทยครั่ง ชมการรำเกี้ยวแคน และนั่งทำดอกทานตะแวน ด้วยด้ายหลากหลายสี ได้ที่ ศูนย์วัฒนธรรมชุมชนไทยครั่ง บ้านเกาะน้อย