กุฑุ คือ ใคร
0
อู่ทอง
ท่ามกลางอากาศที่ร้อนแรง
ผมได้นั่งรถนำเที่ยวของอพท ไปตามเส้นทางการท่องเที่ยวในอู่ทอง
ใครก็รู้ว่าอู่ทองโด่งดังเป็นชุมชุนที่มีชื่อเสียงจากอะไร
ผู้นำกลุ่มตำลึงหวาน
ได้พถามผมว่า มาอู่ทอง แล้วนึกถึงอะไร เป็นการตอบย้ำถึงคำถามนั้น
ผมตอบ
เมืองโบราณ
ใช่ครับอู่ทองเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี
อันที่จริงก็แม้ไม่มีในบทเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ แต่เราก็สัมผัสได้
จากเรื่องราวตามสื่อ
แต่
เมื่อผมได้มาเที่ยวชุมชน
ปรากฏว่า คนในอู่ทองมีมากมาย...หลายชาติพันธุ์
ไทครั่ง หรือลาวครั่ง
ที่บ้านโคก
ไทพวน
หรือลาวพวน ที่บ้านเขาพระ
ไททรงดำ
หรือลาวซ่ง ที่บ้านดอนมะเกลือ
ลาวเวียง
ที่บ้านโข้ง
ยังไม่นับคนไทยภาคกลาง
คนไทย-จีน ที่อยู่อย่างหนาแน่นในตัวอำเภอ ซึ่งรวมไปถึงคนจากภาคอื่นๆ
ที่ได้ย้ายเข้ามาทำงานมาอยู่อาศัย
แล้วใคร คือ
คนอู่ทอง?
อู่ทองเป็นเมืองโบราณ
แล้วใครเป็นเจ้าของเมืองอู่ทอง
......
เราจะรู้ได้อย่างไร
..........
คำตอบอาจอยู่ที่
.....
กุฑุ
1
กุฑุ
ยามเมื่อเราเดินไปเล่นๆ
เพลินๆ ในพิพิธภัณฑ์เราจะพบโบราณวัตถุมากมาย รวมไปถึง กุฑุ ด้วยเช่นกัน
กุฑุ คืออะไร เป็นประติมากรรมดินเผาวงโค้งรูปบุคคล
ซึ่งเป็นส่วนประดับส่วนยอดของหลังคาศาสนสถานที่อาจต่อขึ้นไปหลายชั้น เป็นประติมากรรมสมัยทวารวดีที่ได้รับอิทธิพลผสมผสานระหว่างศิลปะท้องถิ่นกับวัฒนธรรมอินเดียในสมัยคุปตะ
กุฑุสื่อถึงวิมานของเหล่าเทพ และบุคคลในวงกลมคือเทวดา ในรูปเป็นเพศชายที่มีผมเป็นลอน
แยกออกเป็นสองข้างด้านซ้ายและด้านขวา มีการเกล้าจุกที่กลางกระหม่อม
ดวงตาใหญ่เบิกโพลงคล้ายเทวรูปในศาสนาศาสนาพราหมณ์
นอกจากมีเพศชายแล้วยังมีประติมากรรมเพศหญิง
เพศหญิง มีรูปหน้ากลม คิ้วมีรูปร่างเป็นปีกกา จมูกโด่ง ผมแสกกลาง มัดเป็นจุกที่กระหม่อนเช่นเดียวกับเพศชาติ มีเครื่องประดับ ตุ้มหู กำไล และสร้อยลูกปัด เช่นเดียวกับที่พบเครื่องประดับเหล่านี้จากการขุดค้น ซึ่งก็พบอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่อู่ทองเช่นเดียวกัน
ลองคิดเล่นๆ
หากมีการล้อการแต่งกายในสมัยนั้นก็เป็นไปได้ที่ลอกเลียนหน้าตาของคนในสมัยนั้นให้เป็นเทวดาด้วยเช่นกัน จึงเป็นข้อสังเกตเล็กๆ น้อย ซึ่งก็คล้ายคลึงกับหน้าตาของคนพื้นถิ่นในสุวรรณภูมิ ที่พูดคนที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติก อาทิ ชาติพันธุ์มอญ เขมร ขมุ (ข่า) โดยเฉพาะ มอญที่เป็นอาจเป็นเจ้าของวัฒนธรรมทวารวดี ดังนั้นคนอู่ทองราณก็อาจเป็นคนที่มีหน้าตาเช่นเดียวกับพูดภาษาออสโตรเอเชียติก
ชาวข่าในอดีต
ที่มา https://www.isangate.com/new/11-paothai/145-paothai-kha.html