❖ เต่าตนุ / GREEN TURTLE
ชื่อวิทยาศาสตร์ = Chelonia mydas
ชื่อท้องถิ่น = เต่าแสงอาทิตย์
หมายเหตุ = ลักษณะทั่วไป-ลักษณะของเต่าตนุ เป็นเต่าทะเลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และน้ำหนักมาก หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกัน (ไม่ซ้อน) กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบขาทั้ง 4 แบน เป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้นสีของกระดองดูเผิน ๆ มีสีน้ำตาลแดงเท่านั้น แต่ถ้าหากพิจารณาให้ละเอียด จะเห็นว่าเกล็ดแต่ละเกล็ดของกระดองหลังมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ขอบเกล็ดมีสีอ่อน ๆ เป็นรอยด่างและมีลายเป็นเส้นกระจายออกจากจุดสีแดงปนน้ำตาล คล้ายกับแสงของพระอาทิตย์ที่ลอดออกจากเมฆ จึงมีผู้เรียกเต่าชนิดนี้ว่า "เต่าแสงอาทิตย์" ส่วนที่ชาวยุโรปเรียกว่า "เต่าเขียว" นั้นมีอยู่ 2 ประการ ประการแรกคือ กระดองหลังมีสีเหลืองปนเขียวประการหนึ่ง ส่วนประการที่สองคือ น้ำมันที่ได้จากไขมันของเต่าตนุจะมีสีเขียว ถิ่นอาศัย -แหล่งที่พบเต่าตนุพบมากในบริเวณอ่าวไทย ทางจังหวัดภาคใต้และทางฝั่งทะเลอันดามัน อาหาร-เต่าตนุกินปลาและหญ้าทะเล ขนาด-โดยทั่วไปเมื่อโตเต็มวัยกระดองหลังยาวประมาณ 100 ซ.ม. มีน้ำหนักประมาณ 130 กก.
สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง