วัฒนธรรมทางภาษาคำเมือง"ตัวเมือง"
ชาวไทยทางภาคเหนือมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวลไพเราะ ซึ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เรียกว่า "คำเมือง" ของภาคเหนือเอง โดยการพูดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ ปัจจุบันยังคงใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน
รำกลองยาว
กลองยาวเป็นกลองหน้าเดียว รูปร่างทรงยาว ด้านล่างกลึงเป็นรูปคล้ายปากแตร ส่วนบนป่องเล็กน้อยปิดด้วยหนังวัว ขึงด้วยเชือกให้ตึง กลองยาวมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เล่น ตกแต่งด้วยผ้าสีสวยงาม มีสายสะพายคล้องบ่าเพื่อสะดวกในการเดินตี
ฟ้อนสาวไหม
วิถีชีวิตของพื้นเมืองเหนือการแสดงพื้นเมืองประจำบ่อสวก เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนจัดเป็นวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงพฤติกรรม การกระทำที่เกิดจากความคิด ความเชื่อ
บุญบั้งไฟถวายพระเจ้าทันใจ
ในวันแรกของเทศกาลหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า"วันโฮม" จะมีการนำเอาบั้งไฟออกมาแห่แหนตามหมู่บ้านกันก่อน จนกระทั่งวันที่ 2 ถึงจะนำบั้งไฟไปจุดกันกลางทุ่งนา โดยเฉพาะที่จุดบั้งไฟต้องทำเป็นพะองพาดขึ้นไปบนต้นไม้ใหญ่สูงประมาณ 30 เมตร
กิจกรรมส่งต่อความยั่งยืนสู่เยาวชน
การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนของภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อนำไปสู่การสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพและตระหนักต่อการสร้างความยั่งยืนในชุมชนของตนเอง
วัฒนธรรมงานเลี้ยงขันโตก
งานเลี้ยงขันโตกจะเริ่มด้วยขบวนแห่นำขบวนขันโตกด้วยสาวงามช่างฟ้อน ตามมาด้วยคนหาบกระติบหลวง ขบวนแห่นี้จะผสมผสานกับเสียงดนตรีโห่ร้องแสดงความชื่นชมยินดี
กิจกรรมตีกลองสะบัดชัยโบราณ
กลองสะบัดชัยโบราณ เดิมใช้ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ
กิจกรรมอนุรักษ์การแต่งกายชุดพื้นเมือง
การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น
ประเพณีสืบชะตา
การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตนเอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง และความเป็นสิริมงคล
ฟ้อนเกี่ยวข้าว
การนำเพลงเต้นกำรำเคียวไปเผยแพร่นั้น กรมศิลปากรได้ดัดแปลงท่ารำและเนื้อร้องใหม่ เพื่อให้สุภาพขึ้น และใช้ระนาดเป็นเครื่องดนตรีประกอบในตอนต้นและตอนท้าย
ประเพณีตานตุง
ชาวล้านนาถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า
ประเพณีถวายทานสลากจุมปู
เมื่อเสร็จพิธีกรรมทางศาสนาแล้วเส้นสลากจะถูกนำมาแบ่งสันปันส่วนกันในหมู่ของพระสงฆ์ที่ได้นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ รูปละ ๕ – ๑๐ เส้น พระสงฆ์ ก็จะนำเอาเส้นสลาก ไปอ่าน โดยเริ่มจากเจ้าอาวาสก่อนจะมีการเรียกชื่อหาเจ้าของสลากนั้น ๆ ว่านั่งอยู่ที่ใด เ
กิจกรรมงานบุญทอดกฐินสามัคคีประจำปี
เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง
กิจกรรมการสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ในวันเข้าพรรษา วันออกพรรษา
การสรงน้ำพระพุทธรูป อาจจะจัดเป็นขบวนแห่ หรือ อัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานในที่อันเหมาะสม การสรงน้ำจะใช้น้ำอบ น้ำหอม หรือน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบ น้ำหอมประพรมที่องค์พระ การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร
กิจกรรมไหว้พระ สวดมนต์ ทำบุญตักบาตรประจำวันธรรมสวนะ
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยการทำบุญตักบาตร ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา ปฏิบัติธรรมและรักษาศีล ตลอดจนเป็นการปลุกจิตสำนึกคนในชุมชนให้ยึดมั่นและเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
กิจกรรมงานประเพณีขึ้นดอยภูสะงืด
งานประเพณีท้องถิ่นที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ช่วงเดือนเก้าเหนือ (เก้าเป็ง) หรือราวเดือนมิถุนายน ด้วยความศรัทธาอันหนึ่งอันเดียวกันของ ๓ ตำบลที่มีอาณาเขตติดต่อกัน คือ ตำบลเรือง ตำบลนาซาว ตำบลบ่อสวก มีศูนย์กลาง ณ ยอดดอยภูสะงืด นำคัวตานข
กิจกรรมบวงสรวงเจ้าหลวงปู่ฮ่อ
กิจกรรมบวงสรวงเจ้าหลวงปู่ฮ่อ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นผีบ้านที่คอยคุ้มครองปกปักษ์รักษาให้พี่น้องชาวตำบลบ่อสวกอยู่ดีมีสุข และดูแลพืชผลในไร่นามิได้ให้รับความเสียหาย
กิจกรรมทานข้าวใหม่
การทำบุญในวาระนี้เรียกว่า ทานขันข้าวใหม่ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปถึงเทวดาขุนน้ำ ปู่ย่าตายาย พ่อแม่ที่เป็นเจ้าของไร่นามาแต่เดิม สำรับอาหารประกอบไปด้วยข้าวนึ่งสุก พร้อมกับอาหารที่นิยมกันตามท้องถิ่น
กิจกรรมตานผีขุนน้ำ
เมื่อถึงเดือน 8 เดือน 9 เหนือ (ประมาณเดือนพฤษภาคม -มิถุนายน) ของทุกปี เป็นเวลาที่ฝนเริ่มตก ก่อนเริ่มการเพาะปลูก วัฒนธรรมสำคัญอย่างหนึ่งของชุมชน คือ ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ หรือ ผีฝาย
กิจกรรมตีกลองปูจา กลองยาว
ได้รับการเล่าขานมานานว่า ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านได้อพยพมาจากเมืองเชียงแสน ซึ่งก็คือ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ตามประวัติศาสตร์ เมืองเชียงแสน เป็นแหล่งอารยธรรม วัฒนธรรมที่รุ่งเรือง มีลักษณะโดด
ซิ่นลายน้ำไหลเกลียว
ผ้าซิ่นลายน้ำไหลเกลียว วัสดุ ฝ้ายแท้ย้อมสีธรรมชาติ เทคนิคการทอ เกาะล้วง น้ำไหลเกลียว ภูเขา ขิด(ยกมุก)ลายโบราณ มัดก่านข้อ น้ำตาลจากสารเงิน เขียวจากเพกา ฟ้าน้ำทะเลจากคราม