ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน ขนาดสูง 0.4 ซม. ยาว 4.8 ซม. กว้าง 1.0 ซม. เป็นดอกปูนปั้นติดแก้วจืน ประดับฐานพระประธานที่มีอายุประมาณ 500 ปีขึ้นไป มีลักษณะคล้ายกับใบไม้ ทำจากปูนปั้น มีรูปทรงสามเหลี่ยม มีการติดแก้วจืนสีเขียวไว้ตรงกลาง กลีบดอกตกแต่งด้วยลายขูดขีดและทาสีด้วยสีทองที่หลุดลอกออกไปแล้วส่วนมาก และมีร่องรอยแตกหักตรงขอบด้านล่างของดอกปูนปั้น ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณฐานพระประธานชั้นที่ 2 (จากจำนวน 5 ชั้น นับจากชั้นล่างสุดขึ้นไป) ภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันดอกปูนปั้นติดแก้วจืน ประดับฐานพระประธานจัดเก็บไว้ที่ ตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน ขนาดสูง 0.5 ซม. ยาว 7.5 ซม. กว้าง 1.0 ซม. เป็นดอกปูนปั้นติดแก้วจืน ประดับฐานพระประธานที่มีอายุประมาณ 500 ปีขึ้นไป มีลักษณะคล้ายกับดอกไม้ ทำจากปูนปั้น มีรูปทรงสามเหลี่ยม มีการติดแก้วจืนสีเขียวไว้ตรงกลาง มีกลีบดอกประดับอยู่ทั้งสามมุม กลีบดอกตกแต่งด้วยลายขูดขีดและทาสีด้วยสีทองที่หลุดลอกออกไปแล้วส่วนมาก และมีร่องรอยแตกหักตรงปลายกลีบดอกด้านซ้าย ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณฐานพระประธานภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธานจัดเก็บไว้ที่ ตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ดอกปูนปั้นประดับฐานพระประธาน


ดอกปูนปั้นประดับฐานพระประธาน เป็นประติมากรรมตกแต่งสิ่งก่อสร้างทำจากปูน ทราย และส่วนผสมอื่น ในขณะที่ยังอ่อนตัว ปูนที่ใช้ในสมัยโบราณ เรียกว่า ปูนตำ ปูนหมัก ประกอบด้วย หินปูน เปลือกหอย กระดูก และมีส่วนผสมพิเศษให้เกิดความเหนียว เช่น ยางไม้ ไขมันที่ได้จากพืชและสัตว์ ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณฐานพระประธาน ชั้นที่ 2 (จากจำนวน 5 ชั้น นับจากชั้นล่างสุดขึ้นไป) ภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะลวดลายดอกไม้ รูปทรงรีปลายเรียวยาว กระจกจืนที่ประดับด้านหน้าหลุดกะเทาะออกไป ตรงกลางมีร่องรอยปูนแตกร้าวเป็นเส้นยาว ด้านหลังมีร่องรอยการใช้รักติดอยู่ ขนาด กว้าง 4.5 ซม. ยาว 6.5 ซม. หนา 0.7 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


แก้วกระจกโบราณ


แก้วกระจกโบราณ ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณเสาด้านหน้าวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะชิ้นส่วนกระจกแก้ว จำนวน 6 ชิ้น แต่ละชิ้นมีขนาดต่างกันไป โดยจะใช้ปูนในการยึดติดแต่ละชิ้นส่วน โดย 2 ชิ้นกลางแตกต่อกันไว้ มีสีเขียวทึบ ลักษณะ 4 ชิ้น ด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ลักษณะคล้ายกลีบบัวหรือลายกระจัง มีสีเขียวทึบ 2 ชิ้น และสีแดงทึบ 2 ชิ้น ขนาด ชิ้นที่ 1) ก. 3.2 ซม. ย. 10.7 ซม. น. 0.2 ชิ้นที่ 2) ก. 2.9 ซม. ย. 8.9 ซม. น. 0.2 ชิ้นที่ 3) ก. 3.4 ซม. ย. 16.7 ซม. น. 0.2 ชิ้นที่ 4) ก. 3.3 ซม. ย. 16.3 ซม. น. 0.2 ชิ้นที่ 5) ก. 33 ซม. ย. 8.3 ซม. น. 0.2 และชิ้นที่ 6) ก. 3.1 ซม. ย. 10.5 ซม. น. 0.2 ซึ่งกระจกแก้วเป็นกระจกที่มีความหนา มีสีสันสดใสหลายหลากสี มีกรรมวิธีการผลิตคือหุงด้วยทรายแก้วซึ่งเป็นทรายเนื้อละเอียดโดยผสมน้ำยาสีต่างๆ ตามที่ต้องการลงไป ด้านหลังอาบด้วยปรอทเคลือบน้ำยาเคมี แต่ไม่สามารถโค้งงอได้ ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ลูกแก้วติดเพดานวิหาร


ลูกแก้วติดเพดานวิหาร ลักษณะทรงกลมสีฟ้า ด้านในกลวง ด้านบนมีจุกทำด้วยโลหะสำหรับแขวน ลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยมมีห่วงวงกลมด้านบนร้อยด้วยเชือกสำหรับแขวน ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 7.9 ซม. ในอดีตเป็นลูกแก้วที่ใช้ประดับตกแต่งเป็นดาวเพดาน หรือดวงดาวบริเวณเพดานเหนือพระประธานในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ แต่น่าจะเป็นของใหม่ที่เข้ามาภายหลัง คาดว่าอาจจะเป็นช่วงที่ชาวอังกฤษและคนในบังคับ ได้แก่ พม่า เงี้ยว และมอญ เข้ามาดำเนินกิจการการทำสัมปทานป่าไม้ ประมาณปี พ.ศ. 2400 ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ดอกปูนปั้นติดกระจกจืนประดับหน้าบันวิหาร


ดอกปูนปั้นติดกระจกจืนประดับหน้าบันวิหาร ลักษณะส่วนที่อยู่ตรงกลางจะเป็นดอกปูนปั้นลักษณะทรงกลม ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.3 ซม.หนา 0.8 ซม. ทำเป็นลวดลายขูดขีดเป็นเส้นวงกลมด้านใน 1 ชั้น ระหว่างลวดลายขูดขีดเส้นวงกลมชั้นนอกทำเป็นลายขูดขีดเป็นเส้นๆจำนวน 16 เส้นโดยรอบ สีและกระจกจืนที่ติดอยู่ภายในลวดลายวงกลมชั้นในหลุดกะเทาะออกไป ด้านหลังของดอกปูนปั้นปรากฏร่องรอยการทำส่วนกลีบดอกปูนปั้น แต่หลุดกะเทาะไป เหลือเพียงส่วนของกระจกจืนที่ตกแต่งบริเวณตรงกลางของกลีบดอกปูนปั้น จำนวน 4 กลีบ ลักษณะรูปทรงคล้ายใบเสมา กระจกจืนจะมีขนาดใหญ่ 2 ชิ้น ซึ่งมีขนาด กว้าง 3.5 ซม. ยาว 4.3 ซม.และขนาดเล็กกว่า 2 ชิ้น ขนาดกว้าง 3.0 ซม. ยาว 3.7 ซม. ซึ่งจะวางในแนวตรงข้ามกัน สำหรับวัตถุชิ้นนี้ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณหน้าบันวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้งเพื่อความสวยงาม ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


บัวหัวเสาไม้สักประดับกระจกจืน


บัวหัวเสาไม้สักประดับกระจกจืน ขนาดยาว 30.5 เซนติเมตร สูง 3.5 เซนติเมตร กว้าง 4.0 เซนติเมตร ทำจากไม้สัก รูปทรงสามเหลี่ยม ปลายแหลมบิดงอขึ้นคล้ายรูปกลีบบัว ส่วนที่ประดับกระจกจืนหลุดหายไป ใช้ประดับงานสถาปัตยกรรม บริเวณหัวเสาวิหารวัด สำหรับประวัติวัตถุชิ้นนี้ ในอดีตเป็นใช้ประดับตกแต่งบริเวณหัวเสาหรือบัวหัวเสาวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ดอกปูนปั้นติดแก้วจืนประดับฐานพระประธาน


ดอกปูนปั้นประดับฐานพระประธาน เป็นประติมากรรมตกแต่งสิ่งก่อสร้างทำจากปูน ทราย และส่วนผสมอื่น ในขณะที่ยังอ่อนตัว ปูนที่ใช้ในสมัยโบราณ เรียกว่า ปูนตำ ปูนหมัก ประกอบด้วย หินปูน เปลือกหอย กระดูก และมีส่วนผสมพิเสาให้เกิดความเหนียว เช่น ยางไม้ ไขมันที่ได้จากพืชและสัตว์ ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณฐานพระประธาน ชั้นที่ 2 (จากจำนวน 5 ชั้น นับจากชั้นล่างสุดขึ้นไป) ภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง มีลักษณะคล้ายกับดอกไม้ ทำจากปูนปั้น มีการติดแก้วจืนสีเขียวไว้ตรงกลาง มีกลีบดอกประดับอยู่รอบวง กลีบดอกตกแต่งด้วยลายขูดขีดและทาสีด้วยสีแดง มีร่องรอยชำรุดตรงปลายกลีบดอกบางส่วน และสีแดงที่ทาตรงกลีบดอกก็มีรอยถลอกมากแล้ว ขนาด สูง 0.5 เซนติเมตร กว้าง 4.0 เซนติเมตร ยาว 5.0 เซนติเมตร ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง