หน้าบัน

หน้าบัน ในอดีตอาจใช้ในการประกอบเป็นส่วนหนึ่งของหน้าบันปราสาทหรือธรรมาสน์หลวง เจ้าอาวาสรุ่นก่อนได้มีการเก็บรักษาเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าประโยชน์ใช้สอยคือเช่นไร และมาจากวัดมงคลทุ่งแป้งหรือไม่ หน้าบันชิ้นนี้ มีขนาด กว้าง 55.5 ซม. สูง 50.5 ซม. หนา 3.2 ซม. ทำจากไม้ ลักษณะรูปทรงแบบสามเหลี่ยมโดยมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีตัวเหงาหรือหางวันในภาษาเหนือขนาบทั้งสองข้างมีการลงรักทาชาดปิดทอง โดยบริเวณตัวเหงาเป็นรูปดอกลายประจำยามแล้วมีเส้นขอบสองเส้น ส่วนตรงกลางเป็นรูปดอกไม้บานบนต้น ตัวเหงานอกจากมีบทบาทสำคัญสำหรับลายไทยแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในด้านสถาปัตยกรรมของไทยอีกด้วย โดยเฉพาะในภาคเหนือที่นิยมนำรูปทรงตัวเหงามาประกอบการออกแบบตกแต่งได้อย่างลงตัว เช่น ราวบันได ซุ้มประตู และขอบคิ้วต่างๆ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่นอกตู้จัดแสดง บริเวณด้านข้างพระประธานในวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ขนาด

ขนาด : ก. 55.5 ซม. ส. 50.5 ซม. น. 3.2 ซม. / ลักษณะทางกายภาพ : ทำจากไม้ ลักษณะรูปทรงแบบสามเหลี่ยมโดยมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีตัวเหงาหรือหางวันในภาษาเหนือขนาบทั้งสองข้างมีการลงรักทาชาดปิดทอง โดยบริเวณตัวเหงาเป็นรูปดอกลายประจำยามแล้วมีเส้นขอบสองเส้น ส่วนตรงกลางเป็นรูปดอกไม้บานบนต้น

ชื่อเจ้าของ

วัดมงคลทุ่งแป้ง

ประวัติเจ้าของ

ไม่ทราบ

ประวัติวัตถุจัดแสดง

ในอดีตอาจใช้ในการประกอบเป็นส่วนหนึ่งของหน้าบันปราสาทหรือธรรมาสน์หลวง เจ้าอาวาสรุ่นก่อนได้มีการเก็บรักษาเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าประโยชน์ใช้สอยคือเช่นไร และมาจากวัดมงคลทุ่งแป้งหรือไม่

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ช่วงเวลาการสะสม

ไม่ทราบช่วงเวลาแน่ชัด