ดอกปูนปั้นประดับฐานพระประธาน

ดอกปูนปั้นประดับฐานพระประธาน เป็นประติมากรรมตกแต่งสิ่งก่อสร้างทำจากปูน ทราย และส่วนผสมอื่น ในขณะที่ยังอ่อนตัว ปูนที่ใช้ในสมัยโบราณ เรียกว่า ปูนตำ ปูนหมัก ประกอบด้วย หินปูน เปลือกหอย กระดูก และมีส่วนผสมพิเศษให้เกิดความเหนียว เช่น ยางไม้ ไขมันที่ได้จากพืชและสัตว์ ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณฐานพระประธาน ชั้นที่ 2 (จากจำนวน 5 ชั้น นับจากชั้นล่างสุดขึ้นไป) ภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะลวดลายดอกไม้ รูปทรงรีปลายเรียวยาว กระจกจืนที่ประดับด้านหน้าหลุดกะเทาะออกไป ตรงกลางมีร่องรอยปูนแตกร้าวเป็นเส้นยาว ด้านหลังมีร่องรอยการใช้รักติดอยู่ ขนาด กว้าง 4.5 ซม. ยาว 6.5 ซม. หนา 0.7 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ขนาด

ขนาด : ก. 4.5 ซม. ย. 6.5 ซม. น. 0.7 ซม. / ลักษณะทางกายภาพ : ลักษณะลวดลายดอกไม้ รูปทรงรีปลายเรียวยาว กระจกจืนที่ประดับด้านหน้าหลุดกะเทาะออกไป ตรงกลางมีร่องรอยปูนแตกร้าวเป็นเส้นยาว ด้านหลังมีร่องรอยการใช้รักติดอยู่

ชื่อเจ้าของ

วัดมงคลทุ่งแป้ง

ประวัติเจ้าของ

ไม่ทราบ

ประวัติวัตถุจัดแสดง

ในอดีตเป็นลวดลายที่ประดับตกแต่งบริเวณฐานพระประธานภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ช่วงเวลาการสะสม

ไม่ทราบช่วงเวลาแน่ชัด