กวงปั่นฝ้าย / บะลุ๊ก (ภาษาไตลื้อ)

“กวงปั่นฝ้าย” หรือภาษาไตลื้อเรียกว่า “บะลุ๊ก” เดิมเป็นสมบัตินางบัวไหล บัวเพิ่มพูล ชาวไทลื้อ เก็บสะสมมากว่า 120 ปี เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปั่นด้ายหรือกรอด้ายเข้าหลอดก่อนนำเข้ากี่เพื่อนำไปทอเป็นผืนผ้า ลักษณะของกวงปั่นฝ้าย ประกอบด้วย ไม้ค้ำ 2 ด้าน มีตัวหมุนหรือตัวปั่นอยู่ตรงกลาง ซึ่งมีลักษณะเป็น 4 แฉก ทำหน้าที่กวักเพื่อเก็บด้ายที่ปั่นดีแล้วจากเหล็กในมาพันรวมกันที่กวง ช่างปั่นด้ายจะนำเส้นด้ายที่ได้มาตรวจตราความเรียบร้อยอีกครั้งเพื่อเก็บส่วนที่เป็นปมหรือขุยด้ายที่ติดพันมาก่อนนำไปใช้งาน

ขนาด

ขนาด : ส. 77 ซม. ก. 65 ซม. / ลักษณะทางกายภาพ : มีไม้ค้ำ 2 ด้าน มีตัวหมุนหรือตัวปั่นอยู่ตรงกลาง ตัวหมุนมี 4 แฉก

ชื่อเจ้าของ

นางบัวไหล บัวเพิ่มพูล

ประวัติเจ้าของ

บ้านเลขที่ 142 หมู่ 4 ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ชาติพันธุ์ไตลื้อ

ประวัติวัตถุจัดแสดง

ในอดีตเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการปั่นด้ายเพื่อนำไปทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

เป็นของใช้ของนางไหล บัวเพิ่มพูลและมอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ

ช่วงเวลาการสะสม

ประมาณ 120 ปี