ตุงกระด้าง


ทำจากไม้ แกะสลักลวดลาย ใช้ในการถวายเป็นพุทธบูชา


คันไถก้านกล้วย


คันไถทำจากไม้ประกอบ มี คับจับรูปฉาก จรดพื้น มีช่องสำหรับผูกจานไถทำจากโลหะ กลางคันจับรูปฉาก ยึดด้วยไม้อีกชิ้นยื่นไปด้านหน้าสำหรับผูกเชือกลากจากแอกบนหลังวัวควาย มีไม้ค้ำยันจากชิ้นนี้ จรดลงไปยังคันจับด้านปลายที่ผูกจานไถ เป็นชิ้นส่วนหนึ่งใช้ในการไถนา


ขอช้าง


มีด้ามจับเป็นไม้ไผ่ ปลายด้ามจับเป็นเหล็กโค้งงอ ยึดติดกับด้ามจับ ปลายเหล็ก ไม่แหลมคม ใช้ในการบังคับช้าง


ธนบัตรโบราณ


มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมูลค่า ธนบัตรแต่ละฉบับจะมีมูลค่าแตกต่างกันออกไป เช่น ธนบัตรใบละ 20 บาท ธนบัตรใบละ 10 บาท เป็นต้น


พานไม้


พานไม้สักกลึง ฐานเป็นวงกลมสอบเข้ารอบรับแอวพานที่มีการประดับเส้นลวดอกไก่ ถัดขึ้นไปเป็นตัวพานที่ผายออก ทาเคลือบผิวด้วยยางรัก


น้ำถุ้ง



อีดอ้อย


ทำจากไม้แกะเป็นเฟื่องสำหรับบีบท่อนอ้อย และมีก้านไม้เพื่อทำให้แกนเคลื่อนไหวได้ โดยใช้แรงงานคนหรือสัตว์เลี้ยงหมุน เพื่อบีบให้น้ำอ้อยไหลออกมาแล้วนำน้ำอ้อยไปใช้ประโยชน์ ซึ่งในสมัยโบราณยังไม่มีโรงงานน้ำตาล ชาวบ้านที่ต้องการน้ำตาลหรือน้ำอ้อยต้องใช้โฮงหีบอ้อยนีบให้น้ำอ้อยไหลไปตามรางไม้ แล้วนำน้ำอ้อยไปต้ม และเคี่ยวจนเหนืยวข้น แล้วปันให้เป็นก้อนเพื่อให้เก็บไว้ใช้ได้นาน


ชุดเชี่ยนหมาก


เป็นงานไม้กลึงประกอบไปด้วยถาดและตลับมีฝาปิด สำหรับใส่เครื่องประกอบในการกินหมาก ประกอบด้วย หมาก พลู ปูนแดง สีเสียด ยาเส้น เปลือกไม้หรือเปลือกก่อ ตัวถาดมีรอยชำรุดบริเวณปากเล็กน้อย ตลับบริเวณฝามีรอยแตกเล็กน้อย


กล่องข้าวเมืองมาย


มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส และจะค่อยๆสอบเข้าจนถึงปากกล่อง มีการสานเป็นลวดลายเรขาคณิต ฐานทำจากไม้ไขว้กันเป็นรูปกากบาทเพื่อเสริมความแข็งแรงของพื้นกล่อง ด้านข้างร้อยเชือกสำหรับหิ้ว ใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียว


กล่องข้าวเมืองมาย


มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สานสูงขึ้นเป็นทรงกระบอกเสมอกันตลอดทั้งตัวกล่อง มีการสานเป็นลวดลายเรขาคณิต ฐานทำจากไม้ไขว้กันเป็นรูปกากบาทเพื่อเสริมความแข็งแรงของพื้นกล่อง ด้านข้างร้อยเชือกสำหรับหิ้ว ใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียว


ตลับใส่ปูน


ทำจากทองเหลือง มีลักษณะเป็นทรงกระบอก ขนาดเล็ก มีฝาเปิดปิด


ขันทองเหลือง


ทำจากทองเหลือง มีลักษณะเป็นทรงกระบอก ขนาดเล็ก


เตารีดโบราณ


ทำจากโลหะมีรูปทรงสามเปลี่ยม มีด้ามจับเป็นไม้ สามารถเปิดฝาได้ เพื่อใส่ถ่านให้ความร้อน จำนวน 2 ชิ้น


ถ้ำชา


เป็นเครื่องจักสานทำจากหวาย ลักษณะรูปทรงเป็นกระบอกทรงรี มีฝายึดติดไว้กับตัวกล่อง มีสลักปิด-เปิด และที่สำหรับหิ้วจับ ใช้สำหรับใส่กาน้ำชาเพื่อรักษาอุณหภูมิให้น้ำชาเย็นช้าลง


ปุง


เป็นเครื่องจักสานทรงกระบอกสูงปากสอบเข้า มีฝาปิด มีการเสริมความแข็งแรงด้วยการใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นฐานรองรับน้ำหนักของตัวปุง และใช้เส้นหวายรัดเป็นแนวเส้นตรงขึ้น-ลง เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวปุงเสียรูปทรงอีกทั้งยังเป็นการตกแต่งให้เกิดความสวยงามอีกด้วย มีการทายางรักตัดขอบด้วยสีแดง บนฝาปิดเขียนด้วยลายดอกไม้ ๕ กลีบสีแดงบนพื้นสีดำ ประโยชน์หรับใส่ข้าวของเครื่องใช้ หรือเมล็ดพันธุ์พืช


แอ็บหมาก


ทำมาจากไม้ไผ่สานเป็นทรงกระบอกขนาดสั้น ลงรัก ลงชาด ปั้นลวดลายด้วยรักกระแหนะ สามารถเปิดปิดฝาได้


แคนม้ง


เป็นเครื่องดนตรีของชาวเขาเผ่าม้ง ประกอบด้วยไม้กล่องเสียงมีปลายเรียวยาวสามารถเป่าลมเข้าไปได้ และลำไม้ไผ่ 6 เล่ม มีลิ้นเป็นทองเหลืองประกอบไว้ภายในของไม้กล่องเสียง ลำไม้ไผ่มีการเจาะรู้ไว้สำหรับปิด – เปิด ให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะนำมาเป่าในพิธีงานศพเท่านั้น ถ้าเป็นเวลาปกติต้องการคลายเครียด ประเทืองอารมณ์ หรือเกี้ยวสาวก็สามารถนำมาใช้เป่าได้เหมือนกัน


น้ำต้น


เป็นเครื่องปั้นดินเผา มีฐานเล็กแล้วค่อยๆ ขยายกว้างมากขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่บรรจุน้ำ จากนั้นเริ่มสอบเข้าเพื่อรับส่วนคอที่ยาวเรียวขึ้นไปจบที่ปากน้ำต้นที่ผายออกเล็กน้อย ตกแต่งด้วยลวดลายการกดแม่พิมพ์เส้นไข่ปลาบริเวณขอบคอน้ำต้นเล็กน้อย


หม้อน้ำ


เป็นหม้อน้ำขนาดเล็ก ทำจากดินเผา ฐานเป็นวงกลม ค่อยๆกว้างขึ้นจนบริเวณกลางลำตัว และเล็กลงจนถึงบริเวณปาก ตรงกลางมีลวดลายแบบมีหยัก มีฝาปิด


ภาชนะดินเผาเตาบ้านสันกลาง - บ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง


เป็นภาชนะดินเผาก้นแบบปากผายออก เผาจนเนื้อแกร่งไม่เคลือบผิด พบจากแหล่งเตาบ้านสันกลาง – บ่อแฮ้ว ค้นพบโดยบังเอิญเมื่อมีการขุดสระเก็บน้ำตามโครงการ กสช. บริเวณเนินดินริมห้วยด้านทิศตะวันออกของป่าช้าบ้านสันกลาง อำเภอเมือง ลำปาง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2530 พบเศษภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมาก ไม่มีหลักฐานของลักษณะเตาที่สมบูรณ์ หลักฐานที่พบได้แก่ - เศษผนังเตาสร้างด้วยดิน ภายในมีคราบน้ำเคลือบสีเทา ผิวขรุขระ และมีฟองอากาศ - เศษภาชนะดินเผาเคลือบสีเขียวไข่กา คล้ายกลุ่มเตาอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย - เศษจานดินเผาเคลือบสีเขียวไข่กาเฉพาะด้านในคล้ายจานแหล่งเตาสันกำแพง - เศษภาชนะดินเผาวางซ้อนติดกัน เป็นหลักฐานซึ่งแสดงว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งเตา - กระปุกดินเผาเคลือบสีเขียวใส และเคลือบสีน้ำตาลในแหล่งเดียวกัน - เครื่องใช้อื่นๆ ได้แก่ ตุ้ม สว่านดินเผา หินบดดินใช้กับโกร่ง (เหมือนสากครก) จุกฝาครอบภาชนะ ตุ้มถ่วงแหดินเผา แหล่งเตาบ้านสันกลาง – บ่อแฮ้ว ไม่พบแท่นรองภาชนะที่เรียกว่า กี๋ นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีนักโบราณคดีชาวต่างประเทศมาขอสำรวจ พบเศษภาชนะดินเผาเคลือบจีนในบริเวณนี้ สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ขอบปากชามแตกเสียหายเล็กน้อย


หม้อน้ำ


เป็นภาชนะดินเผาสีส้มอิฐ มีฐานเล็กและค่อยๆกว้างออก เป็นวงกลม บริเวณปากหม้อมีขนาดแคบ ก่อนถึงบริเวณปากรอบๆมีลวดลายเป็นกลีบดอก ลำตัวมีลวดลายเป็นเส้นตรงเฉียง มีฝาปิด


กล่องยาเส้น


มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฝาปิดติดกับตัวกล่อง ภายในกลวง ภายนอกมีลวดลายสวยงาม ใช้สำหรับใส่ยาเส้น หรือมวนบุหรี่


ขันหมาก


เป็นเครื่องเขินมีลักษณะกลม เป็นทรงกระบอกมีปากกว้างและลึก มีลวดลาย ใช้สำหรับใส่เครื่องหมากพลู